by author1 author1

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากสารแต่งกลิ่นกระเทียม

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากสารแต่งกลิ่นกระเทียม

1.กระเทียมที่นำมาแปรรูป แปรรูปให้เป็นของเหลวโดยการต้มสกัด

2.แปรรูปด้วยเครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง

3.ผลิตภัณฑ์ผงสารแต่งกลิ่นกระเทียมที่ได้

by author1 author1

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากน้ำไก่ดำสกัด

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากน้ำไก่ดำสกัด

1. ไก่ดำที่นำมาแปรรูป แปรรูปให้เป็นของเหลวโดยการต้มสกัด

2.แปรรูปด้วยเครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง

3.ผลิตภัณฑ์ผงไก่ดำที่ได้

by author1 author1

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากน้ำสารแต่งกลิ่นโยเกิร์ต

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากน้ำสารแต่งกลิ่นโยเกิร์ต

1.น้ำสารแต่งกลิ่นที่นำมาแปรรูป

2.แปรรูปด้วยเครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER)  อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง

3.ผลิตภัณฑ์ผงสารแต่งกลิ่นโยเกิร์ตที่ได้

by author1 author1

ผักเคล ประโยชน์ดีดี เพื่อคนรักสุขภาพ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงงงง!!

ผักเคล (Kale) หรือ “ผักคะน้าใบหยัก”

มีลักษณะสีเขียวเข้ม ใบหยิก เป็นที่นิยมอย่างมากในต่างประเทศ ซึ่งหลายคนต่างยกให้ผักเคลเป็น Superfood

  • กรดไขมันโอเมก้า 3 และ 6 ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบของไขข้อและข้อกระดูก ช่วยต้านทานโรคไขข้ออักเสบได้ดี
  • แคลเซียมสูง ซึ่งแคลเซียมจะช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก ช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรง
  • ธาตุเหล็กสูง ซึ่งวิตามินเคจะช่วยให้เลือดแข็งตัวได้ดี เลือดลำเลียงออกซิเจนไปยังอวัยวะต่างๆของร่างกาย ช่วยให้เซลล์เติบโต
  • วิตามินเอสูง ช่วยปกป้องสายตา ทำให้ดวงตาแข็งแรงขึ้น ลดอาการปวดล้าของดวงตาจากการใช้งานหนัก
  • วิตามินซีสูงซึ่งวิตามินจะช่วยป้องกันโรคหวัด ทั้งยังช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
  • ต้านมะเร็ง มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูงทั้ง แคโรทีนอยด์ โพลีฟีนอล และฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยป้องกันจากโรคมะเร็ง
  • ลดคอเลสเตอรอลได้ดี ผักเคลมีสารที่จะช่วยรักษาระดับคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับปกติ
  • ดีท็อกซ์ล้างลำไส้ ผักเคลมีไฟเบอร์และซัลเฟอร์สูงจึงช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย เป็นการล้างสารพิษที่ตกค้าง จึงเป็นการดีท๊อกซ์ลำไส้และช่วยลดปัญหาของโรคลำไส้อักเสบ

แหล่งที่มา : https://mthai.com/health/44895.html

 

by satit.t satit.t

ฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata (Burm.f.) Nees) เป็นสมุนไพรที่ได้รับการบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (บัญชียาจากสมุนไพร) กระทรวงสาธารณสุข มีข้อบ่งใช้ คือ แก้ไข้ เจ็บคอ รักษาอาการท้อง

เสียไม่ติดเชื้อ โดยใช้เป็นแคปซูล/ยาเม็ด/ยาเม็ดลูกกลอน

ส่วนที่ใช้ประโยชน์: ส่วนเหนือดิน (ทั้งต้น)

สารสำคัญ

สารสำคัญในการออกฤทธิ์ คือ สารกลุ่ม Lactone  เช่น สารแอน-โดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) นีโอแอนโดรกราโฟไลด์ (Neoandrographolide) ดิออกซีแอนโดรกราโฟไลด์ (14-Deoxyandrographolide) และดิออกซีไดดีไฮโดรแอนโดรกราโฟไลด์ (14-Deoxy-11,12-didehydroandrographolide) เป็นต้น ซึ่งมีสูตรโครงสร้างทางเคมี ดังนี้

 

ข้อบ่งใช้ในปัจจุบันและอนาคต

ปัจจุบันในบัญชียาจากสมุนไพร ปี 2549 ได้แบ่งยาจากสมุนไพรเป็น 2 ชนิด ได้แก่

  • บัญชียาจากสมุนไพรที่มีการใช้ตามองค์ความรู้เดิม เช่น ยาหอมนวโกฐ ยาประสะมะแว้ง ยาถ่ายดีเกลือฝรั่ง เป็นต้น
  • บัญชียาพัฒนาจากสมุนไพร ได้แก่ ขมิ้นชัน ขิง ชุมเห็ดเทศ ฟ้าทะลายโจร บัวบก พริก ไพล เป็นต้น

ในบัญชียาจากสมุนไพรนี้ได้ระบุข้อบ่งใช้ของฟ้าทะลายโจรว่า ใช้รักษาอาการท้องเสียไม่ติดเชื้อ รักษาอาการเจ็บคอ (pharyngotonsillitis) บรรเทาอาการของโรคหวัด (common cold) เช่น เจ็บคอ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ น้ำมูกไหล เป็นต้น

 

รูปแบบและความแรง แคปซูล /ยาเม็ด/ ยาลูกกลอน ที่บรรจุผงฟ้าทะลายโจรอบแห้ง 250, 300 และ 350 มก.

ขนาดและวิธีใช้: (รักษาอาการท้องเสียไม่ติดเชื้อ) ครั้งละ 0.5-2 กรัม วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน ใช้รักษาไม่เกิน 2 วัน, (รักษาอาการเจ็บคอ) วันละ 3 – 6 กรัม แบ่งให้วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน ใช้รักษาไม่เกิน 7 วัน

 

แหล่งที่มา : http://www.eht.sc.mahidol.ac.th/article/1818

by satit.t satit.t

Coraninder seed / ลูกผักชี

Coraninder seed / ลูกผักชี

ลูกผักชี เป็นเมล็ดของ ผักชี (Cilantro) ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Coriandrum sativum เป็นพืชในตระกูล พาร์สลี (parsley) แต่คำว่า colander ใช้เฉพาะส่วนของเมล็ด

เมล็ดผักชีนำมาใช้เป็นเครื่องเทศ มีสีขาวหม่นหรือน้ำตาลซีด มีกลิ่นหอม ของน้ำมันหอมระเหย (essential oil) ความหอมจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความแก่ของเมล็ด ลูกผักชีจะมีกลิ่นรสคล้ายพืชตระกูลส้ม มะนาว

เนื่องจากมีสารในกลุ่ม terpenes linalool และ pinene คำที่ใช้อธิบายกลิ่นรสของชะเอม ได้แก่ warm, nutty, spicy,และ orange-flavoured.

 

สารสำคัญ  เป็นนํ้ามันหอมระเหยพวก “alcohol” ประกอบด้วย 60-70% ของ

d-linalool มี geraniol และ borneol เล็กน้อย นอกจากนั้นพบ 20%ของสารพวก hydro¬carbon มีสารสำคัญเป็น α และ r-terpinene

 

สรรพคุณทางสมุนไพร

ลูกผักชี   →  แก้พิษตานซาง แก้กระหายน้ำ แก้ลมวิงเวียน แก้บิด ถ่ายเป็นเลือด  แก้ริดสีดวงทวาร แก้ปวดฟัน ช่วยย่อยอาหาร ขับลม บำรุงธาตุ แก้อาการคลื่นไส้

 

แหล่งที่มา : http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/2800/coraninder-seed

by satit.t satit.t

อบเชยดีอย่างไร

อบเชยดีอย่างไร

สรรพคุณทางยาของอบเชย ที่คนส่วนใหญ่นำมาใช้กัน คือ นำเปลือกของต้นมาปรุงเป็นยา เนื่องจากเปลือกของต้นอบเชยมีรสหวาน และเป็นยาที่มีฤทธิ์ร้อน จึงมักนำมาทำเป็นยาช่วยบำรุงกำลัง สร้างความอบอุ่นให้ร่างกาย อีกทั้งยังช่วยแก้ในเรื่องของอาการอ่อนเพลีย แก้อาการจุกเสียด และช่วยขับลมได้ ส่วนในทางการรักษานั้น มีการนำอบเชยไปใช้กับผู้ป่วยเบาหวานเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย

แหล่งที่มา : https://manyherbs.com/blogs/benefits/cinnamon

อบเชยกับระดับน้ำตาลในเลือด


ข้อควรระวังในการใช้อบเชย
ในประเทศอินเดีย มีการนำอบเชยไปใช้สำหรับรักษาโรคเบาหวาน และในปัจจุบัน ก็มีงานวิจัยทั้งในสัตว์ทดลองและในคน พบว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (ภาวะเบาหวานเฉียบพลัน ที่อาจเกินขึ้นตามมาจากภาวะอ้วน และขาดการออกกำลังกาย) เมื่อได้รับสารสกัดจากอบเชยแล้ว มีระดับน้ำตาลในเลือดที่ลดลง จึงสรุปได้ว่า อบเชยมีผลต่อการลดระดับของน้ำตาลในเลือดได้จริง

อบเช ถือเป็นสมุนไพรที่มีระดับความปลอดภัยค่อนข้างสูง และไม่ค่อยพบอาการไม่พึงประสงค์ แต่อย่างไรก็ดี ในทางการรักษาแล้ว อบเชยมีผลต่อการลดลงของระดับน้ำตาลในเลือด เพราะฉะนั้น จึงควรระวังในการใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบันที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด เพราะ ยาทั้งสองอาจเสริมฤทธิ์กัน จนทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และอาจเกิดผลข้างเคียงตามมาได้

แหล่งที่มา : https://manyherbs.com/blogs/benefits/cinnamon

by author1 author1

สารแต่งกลิ่นรส Flavor

สารแต่งกลิ่นรส Flavor

กลิ่นรส (Flavor) เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้บริโภคจะพิจารณาเป็นสิ่งแรก นอกเหนือจากลักษณะภายนอกและคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร ถ้ากลิ่นรสไม่ดีแม้มีสิ่งอื่น ๆ จะดีหมด ผู้บริโภคมักจะไม่เลือกรับประทาน อุตสาหกรรมอาหารส่วนใหญ่จึงใช้กลิ่นรสเพื่อบ่งบอกเอกลักษณ์เฉพาะของรสชาตินั้น ๆ ที่อยากให้ผู้บริโภคจดจำสินค้าได้

โดยทั่วไปในปัจจุบันนี้  Flavor  จะแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่  คือ

1. สารกลิ่นรสตามธรรมชาติ (Natural Flavoring)

หมายถึง วัตถุปรุงแต่งกลิ่นรสที่ได้จากพืช หรือสัตว์ ที่ปกติมนุษย์ใช้บริโภคโดยผ่านวิธีทางกายภาพ เช่น ชา กาแฟ โกโก้  เครื่องเทศ (Spice) ได้แก่ พริกไทย ขมิ้น ข่า อบเชย กานพลู ตะไคร้ เป็นต้น

2. สารแต่งกลิ่นรสเลียนแบบธรรมชาติ (Natural Identical Flavoring)

หมายถึง วัตถุปรุงแต่งกลิ่นรสที่ได้จากการแยกวัตถุที่ให้กลิ่นรสโดยวิธีทางเคมี หรือได้จากวัตถุที่สังเคราะห์ขึ้น จะต้องมีคุณลักษณะทางเคมีเหมือนวัตถุที่พบในผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เช่น น้ำมันหอมระเหย (Essential Oil) โอลิโอเรซิน (Oleoresin) และสารสกัด (Extract)

3. สารแต่งกลิ่นสังเคราะห์ (Artificial Flavoring)

หมายถึง วัตถุปรุงแต่งกลิ่นรสที่ได้จากวัตถุที่ยังไม่เคยพบในผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ที่ปกติมนุษย์ใช้บริโภค และให้ความหมายรวมถึงวัตถุปรุงแต่งกลิ่นรสสังเคราะห์  เช่น วานิลลิน (Vanillin) เป็นวัตถุปรุงแต่งกลิ่นรสสังเคราะห์ที่มีกลิ่น คล้ายกลิ่นวานิลลาที่ได้จากการสกัดธรรมชาติ
แหล่งที่มา :  https://www.fit-biz.com/th/flavoring-additives.html

by satit.t satit.t

สับปะรด : ผลไม้รักษาโรค

สับปะรด : ผลไม้รักษาโรค

สับปะรดเป็นผลไม้เขตร้อนที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร และมีเอนไซม์บรอมมีเลน (bromelain) ซึ่งเป็นสารสำคัญที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่น่าสนใจหลายอย่าง ปัจจุบันนอกจากการนำสับปะรดมาบริโภคในรูปแบบของผลไม้สดและใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารและขนมต่างๆ แล้ว ยังมีการนำสับปะรดมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้หลายชนิด เช่น สับปะรดกระป๋อง สับปะรดอบแห้ง สับปะรดแช่แข็ง น้ำผลไม้ น้ำส้มสายชู ไวน์สับปะรด อุตสาห์กรรมเบียร์ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และการใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ซึ่งช่วยเพิ่มมูลค่าทางการตลาดให้กับสับปะรดได้เป็นอย่างดี

ผลของสับปะรด มีสรรพคุณในการขับเหงื่อ ห้ามเลือด แก้ทางปัสสาวะ ขับพยาธิ ฆ่าพยาธิ แก้โลหิตระดู บำรุงโลหิต แก้นิ่ว ช่วยย่อยอาหาร แก้ปัสสาวะพิการ (ปัสสาวะขัด) ขับปัสสาวะ กัดเสมหะในลำคอ

สับปะรด 100 ก. จะให้พลังงานประมาณ 50 กิโลแคลลอรี สารสำคัญที่พบในสับปะรด คือ สารในกลุ่ม phytoestrogens, isoflavones, lignans, phenolics, กรดซิตริก, กรดมาลิก, วิตามินต่างๆ รวมทั้งเอนไซม์  บรอมมีเลน โดยสับปะรดแต่ละสายพันธุ์จะมีปริมาณสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย  ดังนี้

 

ที่มา : https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/429/

by author1 author1

แตงโมเหลือง VS แตงโมแดง

แตงโมเหลือง VS แตงโมแดง  สรุปอะไรดีกว่ากัน ?

แตงโม เป็นผลไม้ที่คนไทยอย่างเราหากินได้ง่ายมากๆ จนทำให้เรามองข้ามความสำคัญ และไม่เห็นถึงคุณค่าของมัน แต่หันไปสนใจกับผลไม้นำเข้าราคาแพง แถมหายากอย่างอื่น มารับประทานแทน หารู้ไม่ว่า เรามีสิ่งดีๆ อยู่ใกล้ตัวอยู่แล้ว

แตงโมเนื้อสีแดง 

มีกลิ่นและรสชาติที่หอมหวานกว่าสีเหลือง  มีสารแคโรทีนอยด์  ชนิดไลโคปีน  ต้านอนุมูลอิสระ สารไลโคปีน  ที่ให้ประโยชน์ในการลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก และภาวะหัวใจวาย มีมากกว่าสารไลโคปีนที่อยู่ในมะเขือเทศถึง 60 %

 

 

แตงโมที่มีเนื้อสีเหลือง

 เนื้อสีเหลือง มีความหวานฉ่ำน้ำ อมเปรี้ยวนิดๆ คุณค่าทางโภชนาการของแตงโม มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง มีน้ำมาก แล้วก็ยังเป็นแหล่งวิตามินเอ วิตามินซี ในรูปแบบของเบต้าแคโรทีน มีสารไลโคปีนน้อยกว่า แต่จะมีสารแซนโทฟีล   ซึ่งเกิดจากการสลายตัวของไลโคปีน

Tip

โดยปกติแล้วแตงโมทั้งลูก ถ้ายังไม่ได้ถูกผ่า สามารถเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องได้นาน 1 สัปดาห์ ถ้าผ่าแตงโมออกมาแล้ว ควรแช่เย็นเก็บไว้ และกินให้หมดภายใน 2-3 วัน

 

แหล่งที่มา : https://thaifruit.megazy.com/detail/index?name=fruit-tip-watermelon-red-yellow