by author1 author1

ดอกเก๊กฮวย

ดอกเก๊กฮวย

ดอกเก๊กฮวย หรือจวี๋ฮัว มีหลายสายพันธุ์ สายพันธุ์หลักที่ใช้เป็นยา คือ สีขาว Dendranthema morifolium (Ramat.) Tzvel. หรือ Chrysanthemum morifolium Ramat. ตระกูล Asteraceae และส่วนสายพันธุ์ดอกสีเหลือง Dendranthema indicum L. หรือ Chrysanthemum indicum L .

แหล่งที่มา : https://www.pharmacy.cmu.ac.th/web2553/n75.php

การเก็บดอกเป็นยา จะเก็บเมื่อปลายฤดูใบไม้ร่วง และช่วงต้นของฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่ดอกไม้ชนิดนี้บาน นำมาตากในที่ร่วมจนแห้ง คุณสมบัติประจำตัว คือ มีกลิ่นฉุน ขม และ รสหวาน มีความเย็น มีผลโดยตรงต่อปอด และ ตับ การออกฤทธิ์ ขับไล่ลม (วาตะ) ความร้อน ช่วยขจัดความร้อนหรือไฟออกจากตับ อันจะมีผลช่วยในการรักษาโรคทางตา และขจัดสารพิษออกจากร่างกาย

แหล่งที่มา : https://www.pharmacy.cmu.ac.th/web2553/n75.php

สำหรับการนำไปใช้ประโยชน์

  1. ใช้รักษาโรคทางร่างกายภายนอกหรือนอกอวัยวะ เนื่องมาจากลม และความร้อน
  2. ใช้สำหรับอาการตาบวม แดง และปวดตา ตามองไม่ชัด หรือเบลอ และอาการอ่อนแรง
  3. ใช้สำหรับการมึนศีรษะ และปวดหัว สามารถใช้ร่วมกับ โกฐสอ และอื่น ๆ
  4. กรณีเป็นฝีเป็นหนอง บวมและเป็นพิษ อาจใช้ดอกสด แล้วนำมาบดผสมน้ำ แล้วดื่ม แล้วนำกากมาพอก

 

 

ตำรายาเวียตนามกล่าวถึง เก๊กฮวยจีนดอกสีขาวว่า ใช้เหมือนดอกสีเหลือง

มีประโยชน์ต่อเลือด และการไหลเวียนเลือด ให้พลังชีวิต ดอกใช้ในการแก้หวัด ปวดหัวและตาอักเสบ ใช้ประโยชน์โดยเฉพาะในการรักษาผมร่วง หรือทำให้ไม่เปลี่ยนเป็นสีเทา

สรุปการใช้เก๊กฮวย แก้หวัด แก้ร้อนใน แก้อาการตาเจ็บ ตาบวม ขนาดการใช้ ใช้ดอกแห้ง ประมาณ ๕-๙ กรัม ต้มกิน หรือทำเป็นชา ต้มดื่มในปริมาณที่เหมาะสม

แหล่งที่มา : https://www.pharmacy.cmu.ac.th/web2553/n75.php

 

แหล่งที่มา : https://www.pharmacy.cmu.ac.th/web2553/n75.php

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

  • สำหรับดอกเก๊กฮวยจะที่นำมาใช้ ควรเป็นดอกสีขาวหรือดอกสีเหลือง
  • สำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร การดื่มชาเก็กฮวยอ าจทำให้เกิดกรดในกระเพาะเพิ่มมากขึ้น
  • ผู้ที่มีปัญหาเรื่องระบบขับถ่าย หรือมีอาการท้องเสียง่าย ควรดื่มน้ำเก๊กฮวยในปริมาณที่พอเหมาะ
  • เก๊กฮวยเป็นพืชในวงศ์เดียวกับเบญจมาศ ผู้ที่มีอาการแพ้พืชตระกูลนี้มีแนวโน้มแพ้เก๊กฮวยได้เช่นกัน
  • เก๊กฮวยอาจทำปฏิกิริยากับยาบางชนิด ผู้ที่รับประทานยาเป็นประจำหรือผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานหรือใช้ผลิตภัณฑ์ใด ๆ จากเก๊กฮวย
  • น้ำมันที่ได้จากการสกัดดอกเก๊กฮวย จะประกอบด้วยสารไพรีทรัม (Pyrethrum) ซึ่งเหมือนสารประกอบในยาฆ่าแมลง ดังนั้นจึงควรใช้น้ำมันชนิดนี้ด้วยความระมัดระวัง เพราะการสัมผัสโดนโดยตรงหรือใช้เป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองกับผิวหนัง ปาก ตา และจมูกได้

 

แหล่งที่มา : https://www.disthai.com/16963821

by author1 author1

กวาวเครือขาว

กวาวเครือขาวกับสรรพคุณบำรุงสุขภาพผู้หญิง

กวาวเครือขาว  (Pueraria Mirifica) เป็นพืชที่พบได้ในประเทศไทยและในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกวาวเครือขาวที่พบในท้องตลาด มักเป็นกวาวเครือขาวสกัดในรูปแบบอาหารเสริมเพื่อสุขภาพและความงามของผู้หญิง ผู้ขายมักโฆษณาว่าอาหารเสริมกวาวเครือขาวช่วยลดอาการวัยทองและอีกหลายสรรพคุณ ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์

กวาวเครือขาว  มีสารเคมีธรรมชาติที่ออกฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเพศของผู้หญิง ผู้ขายหรือแพทย์แผนโบราณบางส่วน จึงเชื่อว่าพืชสมุนไพรชนิดนี้ช่วยบรรเทาอาการของสตรีวัยหมดประจำเดือนและบำรุงสุขภาพผู้หญิงได้ แต่ในมุมของแพทย์แผนปัจจุบัน สารเคมีที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนจำเป็นต้องใช้อย่างระมัดระวัง เพราะอาจเกิดความเสี่ยงบางอย่างได้

กวาวเครือขาวเพิ่มขนาดหน้าอกได้จริงหรือ ?

โดยผู้ขายอนุมานจากส่วนประกอบของกวาวเครือขาว ที่เรียกว่า ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) ที่ทำหน้าที่คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย เพราะเดิมทีการเจริญเติบโตของขนาดหน้าอกในเด็กผู้หญิงวัยเจริญมีผลส่วนหนึ่งมาจากฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายที่เพิ่มขึ้น แต่โดยธรรมชาติหน้าอกจะหยุดขยายเมื่ออายุ 18 ปี

 

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประโยชน์ของกวาวเครือขาวต่อสุขภาพผู้หญิง

บรรเทาอาการในวัยหมดประจำเดือน

ร่างกายของผู้หญิงวัยหมดประเดือน จะผลิตฮอร์โมนเพศและฮอร์โมนบางชนิดน้อยลงอย่างมาก โดยเฉพาะฮอร์โมนเอสโตรเจน  (Estrogens)  ซึ่งภาวะขาดฮอร์โมนในวัยหมดประเดือน อาจทำให้เกิดอาการร้อนวูบวาบตามร่างกาย ช่องคลอดแห้ง และประจำเดือนมาไม่ปกติ โดยอาการเหล่านี้ส่งผลต่อทั้งสภาพร่างกายและอารมณ์ รวมถึงการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก

การศึกษาขนาดเล็กชิ้นหนึ่งได้ทดสอบสรรพคุณของกวาวเครือขาวในการช่วยบรรเทาอาการจากภาวะหมดประเดือนในผู้หญิงที่ผ่านการผ่าตัดมดลูกจำนวน 52 คน โดยให้ผู้เข้ารับการทดลองรับประทานอาหารเสริมกวาวเครือขาวติดต่อกัน 6 เดือน ผู้ทดลองใช้ Climacteric Scale เป็นเกณฑ์วัดค่าอาการของภาวะหมดประจำเดือน หากค่ามากแสดงว่าอาการมีความเข้มข้นหรือรุนแรง

ภายหลังการศึกษาพบว่าผู้เข้าร่วมการทดลองมีคะแนนตาม Climacteric Scale ลดลง เมื่อเทียบกับก่อนเข้ารับการทดลอง ผู้ทดลองจึงคาดว่ากวาวเครือขาวสกัดในรูปแบบอาหารเสริมอาจส่งผลดีต่อภาวะหมดประจำเดือนไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

ลดความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน

นอกจากสรรพคุณในการบรรเทาอาการภาวะหมดประจำเดือนโดยรวมแล้ว นักวิทยาศาสตร์บางส่วนเชื่อว่าด้วยฤทธิ์ของไฟโตเอสโตรเจนอาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนและภาวะหลังหมดประจำเดือน (Postmenopause) ได้

 

ความเสี่ยงที่ควรทราบและวิธีใช้กวาวเครือขาวให้ปลอดภัย

  • ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้อาหารเสริมกวาวเครือขาว โดยแจ้งโรคประจำตัว ยา อาหารเสริม และสมุนไพรที่กำลังใช้ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหืด โรคเบาหวาน โรคลมชัก โรคไมเกรน โรคไขมันในเลือดสูง โรคเอสแอลอี (SLE) และผู้ที่รักษาโรคด้วยวิธีฮอร์โมนบำบัดหรือฮอร์โมนทดแทน เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงและเป็นอันตรายได้
  • คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ หรืออยู่ระหว่างให้นมลูก ควรหลีกเลี่ยงการใช้อาหารเสริมกวาวเครือขาว
  • หลีกเลี่ยงการซื้อหรือใช้ผลิตภัณฑ์กวาวเครือขาวทุกประเภทที่โฆษณาผ่านโซเชียลมีเดียหรือเว็บไซต์
  • เลือกซื้อผลิตภัณฑ์กวาวเครือขาวที่ผ่านการรับรองความปลอดภัยจากอย.เสมอ และตรวจสอบเลขจดแจ้งของผลิตภัณฑ์บนเว็บไซต์ของทางหน่วยงานเพื่อป้องกันสินค้าที่สวมเลขจดแจ้งผลิตภัณฑ์

แหล่งที่มา : https://www.pobpad.com

by author1 author1

สารสกัดจากเมล็ดองุ่น

สารสกัดจากเมล็ดองุ่น (Grape Seed extract)

 

 

แหล่งที่มา : https://www.boon-herb.com/herballibrary/grape-seed-extract

ตั้งแต่อดีต คนโบราณไม่เพียงแต่ใช้องุ่นเพื่อการรับประทานและการดื่มเท่านั้น แต่ยังมีการนำเอาองุ่นไปทำเป็นยาอีกด้วย หลายส่วนของต้นองุ่นได้ถูกนำไปใช้สำหรับทำเป็นยาหรือสมุนไพร จนกระทั่งในปี ค.ศ.1970 นักชีวเคมีชาวฝรั่งเศสได้นำเอาเมล็ดองุ่นไปทำการสกัดและในที่สุดได้พบสารสำคัญที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมากชื่อว่า   “โอลิโกเมอริก โปรแอนโธไซยานิดินส์ (Oligomeric Proanthocyanidins) หรือ OPCs”

 

OPCs คืออะไร

 

แหล่งที่มา : https://www.cbinterlab.com/product/static-cat0Product2

OPCs เป็นสารสำคัญอีกชนิดหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มของไบโอฟลาโวนอยด์ มีคุณสมบัติที่สำคัญในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง และละลายน้ำได้ดี ดังนั้นจึงมีประสิทธิภาพมากในการปกป้องเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายจากการถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระ รวมถึงมีประสิทธิภาพในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าวิตามินซีถึง 20 เท่า และมากกว่าวิตามินอีถึง 50 เท่า

 

หน้าที่ของสารสกัดเมล็ดองุ่น

  1. หัวใจและหลอดเลือด
  • ยับยั้งการเกาะตัวของคอเลสเตอรอลที่ผนังหลอดเลือด จึงป้องกันหลอดเลือดอุดตัน
  • เพิ่มความสามารถในการไหลเวียนของโลหิต
  1. ดวงตา
  • ป้องกันการเสื่อมของดวงตา ต้อกระจก ช่วยให้สายตาปรับการมองเห็นในที่มืดได้ดี
  1. ภูมิแพ้
  • ลดอาการภูมิแพ้ OPC มีคุณสมบัติในการต้านสารฮีสตามีน จึงช่วยลดอาการภูมิแพ้ หอบหืด
  1. สมอง
  • ป้องกันโรคสมองเสื่อมหรือ อัลไซน์เมอร์ โดยที่ OPCs จะเข้าไปขัดขวางการทำลายเซลล์สมองจากอนุมูลอิสระ
  1. ผิว
  • ช่วยลดริ้วรอย ฝ้าและกระให้จางลง โดย OPCs จะช่วยต้านอนุมูลอิสระที่จะมาทำลายคอลลาเจนอิลาสตินและการผลิตเม็ดสี อันเป็นสาเหตุทำให้ผิวเสื่อมสภาพ และเกิดริ้วรอยก่อนวัยอันควร

 

ข้อควรระวัง : ไม่แนะนำสำหรับผู้ที่มีภาวะเลือดแข็งตัวช้าหรือใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด และควรหยุดการรับประทานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ก่อนและหลังการผ่าตัดหรือทำฟัน

 

แหล่งที่มา : https://biopharm.co.th/

by author1 author1

กล้วยน้ำว้าดิบ

กล้วยน้ำว้าดิบ พบสารสำคัญสรรพคุณล้นในการรักษาโรค

ขึ้นชื่อว่ากล้วย ผลไม้รสชาติหวาน อร่อย กินได้ง่ายทุกเพศ ทุกวัย หากินได้ทั่วทุกแห่งในโลก แต่สำหรับประเทศเรานั้นมีกล้วยเพียงไม่กี่ชนิดที่คนนิยมกินมาก เช่น กล้วยหอม กล้วยหักมุก กล้วยเล็บมือนาง และกล้วยน้ำว้า โดยเฉพาะกล้วยอย่างหลังสุด “กล้วยน้ำว้า” มีสรรพคุณทางยามากมาย จนมีการศึกษาและงานวิจัยออกมายืนยันสรรพคุณอยู่เรื่อย ๆ เราจึงรวบรวม งานวิจัยผงกล้วยน้ำว้าดิบ ที่เรียกได้ว่าสรรพคุณล้นหลามในการรักษาโรค

สารสำคัญในกล้วยน้ำว้าดิบผง

แหล่งที่มา : http://www.thaicrudedrugom

ในผงกล้วยน้ำว้าดิบ  นั้นจะประกอบไปด้วยสารสำคัญอย่าง  สารแทนนิน (Tannin)  ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารตกตะกอนโปรตีน  มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อราได้ดี  จึงช่วยเคลือบป้องกันผนังกระเพาะอาหารและลำไส้ไม่ให้ถูกทำลายโดยอาหารที่มีรสเผ็ดร้อน  อาหารที่ส่งผลต่อการระคายเคืองที่กระเพาะ รวมถึงกรดในกระเพาะในช่วงที่ท้องว่าง

 นอกจากนี้กล้วยดิบ  ยังช่วยรักษาอาการท้องเสียได้ด้วย

ซึ่งสารอีกตัวหนึ่งที่สำคัญมากที่พบได้ในกล้วยดิบ นั่นคือ  เซโรโทนิน  ออกฤทธิ์กระตุ้นให้ผนังเยื่อบุกระเพาะอาหารหลั่งเมือกออกมาเคลือบกระเพาะ ป้องกันการถูกกรดในกระเพาะอาหารย่อยอีกทีหนึ่ง

ยังมีงานวิจัยศึกษาว่า กล้วยน้ำว้าดิบ  ช่วยป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร โดยทำการทดลองกับหนูขาวด้วยการป้อนกล้วยน้ำว้าดิบ  พบว่า กล้วยนั้นสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะ โดยกลไกการออกฤทธ์น่าจะเกิดการกระตุ้นให้เซลล์ในเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดจากการหลั่งสารจำพวก Mucin ที่หลั่งออกมาเพื่อเคลือบกระเพาะ ซึ่งได้ผลที่ดีกว่ายาปฏิชีวนะอย่าง Aluminium hydroxide, Cimetidine และ Poslagiandin

 

นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในผู้ที่อ้วนลงพุง โดยพบว่า การกินผงกล้วยดิบมีผลช่วยลดขนาดรอบสะโพก (hip circumference) ลดระดับน้ำตาลในเลือดและความดัน  การกินผงกล้วยดิบมีผลช่วยให้รูปร่างและค่าทางชีวเคมีในเลือดของผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินและมีภาวะอ้วนลงพุงดีขึ้นได้ แต่ไม่ได้ผลในกลุ่มผู้ที่น้ำหนักเกิน แต่ไม่ถึงกับอ้วนลงพุง

แหล่งที่มา : https://www.krodlaiyon.com/research-banana-namwa/

 

แหล่งที่มา : https://www.kasettambon.com

วิธีการทำแป้งกล้วย

  • นํากล้วยดิบตัดแยกเป็นผล ล้างด้วยน้ำให้สะอาด
  • ลวกในน้ำเดือดเป็นเวลา 45 วินาทีและแช่ในน้ำเย็นทันที
  • ปอกเปลือกและหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ แช่ในสารละลายโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ความเข้มข้น ร้อยละ 0.1 เป็นเวลา 30 นาที (การเตรียมทําโดยชั่ง โซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ 1 กรัม เติมน้ำทำให้ได้สารละลาย 1 ลิตร และคนให้ละลาย) นําขึ้นผึ่งให้สะเด็ดน้ำ เกลี่ยบนถาดซึ่งเป็นตะแกรงโปร่ง
  • นําไปทําให้แห้ง โดยนําเข้าอบในตู้อบแห้งแบบใช้ลมร้อน ควบคุมอุณหภูมิ 55-60°C หรือตากให้แห้ง โดยใช้แสงแดด หรือเครื่องอบแห้งพลังแสงอาทิตย์จนแห้งกรอบ
  • นําไปบดให้เป็นผง แล้วร่อนผ่านตะแกรงร่อน ขนาด 80 Mesh บรรจุในภาชนะบรรจุปิดสนิท

แหล่งที่มา : https://www.kasettambon.com

 

by author1 author1

ถั่วดาวอินคา

ดาวอินคา ประโยชน์ดี ๆ สรรพคุณเด่น ๆ และข้อมูลงานวิจัย

ถิ่นกำเนิดดาวอินคา

ดาวอินคา เป็นพืชวงศ์ Euphorbiaceae เช่นเดียวกับ ยางพารา สบู่ดำ หรือมันสำปะหลัง ถั่วดาวอินคาในปัจจุบันก็มีการเพาะปลูกดาวอินคาในแถบทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีการนำดาวอินคามาแปรรูป เช่น น้ำมันดาวอินคาที่ได้จากการสกัด ถั่วดาวอินคาอบเกลือ หรือถั่วดาวอินคาคั่ว

 

ประโยชน์และสรรพคุณดาวอินคา

  1. มีฤทธิ์ลดคอเลสเตอรอลในเลือด
  2. สามารถต้านอนุมูลอิสระและป้องกันการออกซิเดชันของไขมัน
  3. ช่วยลดไขมันในเลือดและป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
  4. ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมมาบำรุงกระดูกได้ดีขึ้น
  5. ช่วยรักษาความแข็งแรงของเยื่อหุ้มเซลล์
  6. ลดการอักเสบของหลอดเลือด

เมล็ดดาวอินคา สามารถใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว เช่น ถั่วคั่วเกลือ ถั่วทอด หรือ นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร อาทิ ซอส ซีอิ้ว เต้าเจี้ยว รวมถึงแปรรูปเป็นแป้ง

 

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ดาวอินคา

ในปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดรูปแบบ / ขนาดการใช้หรือขนาดรับประทานดาวอินคาอย่างแน่ชัด โดยบางงานวิจัยระบุว่า เมล็ดดาวอินคารับประทานไม่ได้

เนื่องจากมีสารกลุ่มที่ยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ทริปซิน (trypsin inhibitor) แต่สามารถนำมาหีบเอาน้ำมันมาใช้รับประทานเพื่อให้ได้ประโยชน์จากน้ำมันดาวอินคา และบางงานวิจัยระบุว่าเมล็ดดาวอินคาสามารถรับประทานได้เมื่อทำให้สุกแล้ว

 

องค์ประกอบทางเคมี

ส่วนคุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดดาวอินคา (คั่วเกลือ ปริมาณ 100 กรัม)

เมล็ดดาวอินคาเป็นแหล่งของโปรตีน (ประมาณ 27%)

แหล่งที่มา : Wikipedin

  • พลังงาน 607 กิโลแคลอรี
  • โปรตีน 32.14 กรัม
  • ไขมันทั้งหมด 46.43 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 17.86 กรัม
  • น้ำตาล 3.57 กรัม
  • แคลเซียม 143 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็ก 4.59 มิลลิกรัม
  • โซเดียม 643 มิลลิกรัม

 

การศึกษาทางเภสัชวิทยา

งานวิจัยทางคลินิกที่ศึกษาถึงผลของน้ำมันดาวอินคา ว่ามีคุณสมบัติที่สามารถนำมาใช้แทนโอเมก้า-3 ที่มีอยู่ในน้้ามันปลาได้หรือไม่  โดยมีงานวิจัยที่ศึกษาผลของน้ำมันจากดาวอินคาต่อการลดระดับไขมันในเลือด ทดลองในผู้ป่วยที่มีปัญหาคลอเรสเตอรอลในเลือดสูง โดยให้รับประทานน้ำมันที่สกัดจากดาวอินคา 5 หรือ10 มิลลิลิตรเป็นระยะเวลา 4 เดือน พบว่า ทั้ง 2 กลุ่มมีผลคลอเรสเตอรอลทั้งหมดและไขมันที่ไม่จำเป็นในเลือดลดลง และเพิ่มระดับไขมันเอชดีแอล แสดงให้เห็นถึงว่ากรดไขมันโอเมก้า-3 ที่อยู่ในดาวอินคาออกฤทธิ์คล้ายคลึงกับกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่สกัดออกมาได้จากน้ำมันปลา

 

 

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

  • เนื่องจากยังไม่มีการกำหนดขนาดการใช้ดาวอินคาอย่างแน่ชัด ดังนั้นในการใช้ป้องกันหรือบำบัดรักษาโรค ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ
  • ไม่ควรใช้ติดต่อกันในปริมาณมากเป็นเวลานาน เพราะอาจส่งผลต่อระบบต่างๆในร่างกาย
  • ในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปของดาวอินคา ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานและได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา

 

by author1 author1

อาหารทางสายยาง

การให้อาหารทางสายยาง (Tube Feeding)

สูตรอาหารทางสายยางมีอะไรบ้าง ?

  1. อาหารสูตรน้ำนมผสม (Milk based formula)

 

แหล่งที่มา : http://www.kluaynamthai2.com

อาหารสูตรนี้ใช้นมและผลิตภัณฑ์จากนมเป็นส่วนผสมสำคัญ ประกอบกับส่วนผสมอื่น เช่น น้ำตาล น้ำมันพืช ไข่ เพื่อให้ผู้รับประทานได้รับสารอาหารเพิ่มขึ้น โดยสัดส่วนของวัตถุดิบที่น้ำมาใช้จะขึ้นอยู่กับพลังงานและสารอาหารที่แพทย์กำหนด

อาหารสูตรน้ำนมผสมเตรียมง่าย ใช้เวลาน้อย เหมาะสำหรับผู้ป่วยเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากมีส่วนประกอบของนมเป็นหลัก มักจะก่อให้เกิดอาการท้องเสียสำหรับผู้ใหญ่ที่ไม่ได้ดื่มนมมาเป็นระยะเวลานาน และไม่มีน้ำย่อยน้ำตาลแลคโตส (Lactose) แล้ว

  1. อาหารสูตรปั่นผสม (Blenderized formula)

อาหารสูตรนี้มีคุณค่าทางสารอาหารครบถ้วน ใช้วัตถุดิบจากอาหาร 5 หมู่ ประกอบด้วยเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำตาล และไขมัน นำมาทำให้สุก แล้วปั่นผสมเข้าด้วยกัน จากนั้นจึงกรองเอาส่วนที่ปั่นไม่ละเอียดออกเพื่อให้อาหารสามารถไหลผ่านสายให้อาหารได้

อาหารสูตรปั่นผสมเหมาะสำหรับผู้ใหญ่เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการแพ้นมวัว (Lactose intolerance) สามารถปรับเปลี่ยนวัตถุดิบได้ ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการเตรียม แต่สุดท้ายจะต้องได้คุณค่าครบถ้วนตามที่แพทย์กำหนด โดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน

  1. อาหารสูตรสำเร็จ (Commercial formula)

อาหารสูตรนี้ผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร มีสัดส่วนที่เป็นมาตรฐาน ให้คุณค่าสารอาหารแตกต่างกันตามรายละเอียดที่ระบุไว้ที่ภาชนะบรรจุ มีทั้งชนิดผงและน้ำ สามารถนำไปละลายน้ำตามสัดส่วนที่กำหนด หรือเปิดภาชนะบรรจุก็ใช้ได้ทันที

 

แบ่งเป็น 5 สูตรตามสารอาหาร ดังนี้

  • สูตรอาหารที่มีโปรตีนจากนม (Milk-protein base formula) ใช้นมเป็นแหล่งโปรตีน มักเป็นนมสด (Whole milk) หรือนมขาดมันเนย (Non-fat milk) มีลักษณะเป็นผง
  • สูตรอาหารที่มีโปรตีนจากถั่วเหลือง (Soy-protein base formula) ใช้ถั่วเหลืองเป็นแหล่งของโปรตีน (Soy Protein Isolate) มีลักษณะเป็นผง
  • สูตรอาหารที่มีโปรตีนจากนมและถั่วเหลืองผสมกัน (Milk and soy-protein base formula) ใช้ทั้งนมและนมถั่วเหลืองเป็นแหล่งของโปรตีน มีทั้งชนิดผงและชนิดน้ำ
  • สูตรอาหารที่มีโปรตีนขนาดโมเลกุลเล็ก (Protein hydrolysate) เป็นสูตรนมที่นำโปรตีนมาย่อยสลายด้วยเอนไซม์ส่วนหนึ่งให้มีขนาดเล็กลงเป็นสายโมเลกุลสั้นๆ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่แพ้โปรตีนจากทั้งนมวัวและนมถั่วเหลือง
  • สูตรอาหารที่มีโปรตีนอยู่ในสภาพกรดอะมิโน (Amino acid-based formula) เป็นสูตรนมที่มีโปรตีนซึ่งผ่านกระบวนการย่อยเป็นกรดอะมิโน ร่างกายสามารถดูดซึมนำไปใช้ได้ทันที

แหล่งที่มา : https://hd.co.th/tube-feeding

 

อุปกรณ์ที่ใช้ในการให้อาหารทางสายยาง

  1. อาหารเหลว หรือ อาหารสำเร็จรูป (ตามคำสั่งของแพทย์ )
  2. กระบอกให้อาหารทางสายยาง
  3. สำลี แอลกอฮอล์
  4. สบู่ล้างมือ หรือแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือ

 

ขั้นตอนการให้อาหารทางสายยาง มีดังต่อไปนี้

  1. เตรียมของเครื่องใช้ในการให้อาหารทางสายยาง อาหารเหลวและยาที่เตรียมให้ผู้ป่วย
  2. ในกรณีที่ผู้ป่วยมีเสมหะขับออกเองไม่ได้ ให้ดูดเสมหะก่อน เพื่อป้องกันผู้ป่วยไอสำลักอาหารขณะให้อาหารทางสายยาง
  3. การจัดท่า –ถ้าลุกนั่งได้ให้อยู่ในท่านั่ง ถ้าช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ให้จัดท่าศีรษะสูง อย่างน้อย 60 องศา
  4. ล้างมือ
  5. จับบริเวณปลายสายยาง พับสายยางไว้เพื่อป้องกันลมเข้ากระเพาะอาหาร ผู้ป่วยจะได้ไม่มีอาการท้องอืด
  6. ทดสอบดูว่า ปลายสายยางให้อาหาร ยังอยู่ในกระเพาะอาหารหรือไม่ โดยเปิดจุกแล้วเอากระบอกที่มีลูกสูบมาต่อ จากนั้นปล่อยสายที่พับไว้ลัวดึงลุกสูบ เพื่อประเมินอาหารหรือน้ำที่ยังคงเหลือค้างในกระเพาะอาหาร
  • ถ้ามีอาหารหรือน้ำเหลือค้างมากกว่า 50 ซีซี ให้ดันอาหารกลับเข้าไปอย่างช้าๆ และเลื่อนเวลาออกไปครั้งละ 1 ชั่วโมง แล้วมาประเมินใหม่อีกครั้ง
  • ถ้ามีอาหารหรือน้ำเหลือค้างน้อยกว่า 50 ซีซี ให้ดันอาหารกลับเข้าไปอย่างช้าๆ และให้อาหารได้เลย
  • ถ้าไม่มีอาหารและน้ำเหลือค้าง สามารถให้อาหารได้เลย

** หมายเหตุ     ในกรณีดึงอาหารออกมาแล้ว สีอาหารเปลี่ยนไปเปลี่ยนเป็นสีแดง,สีน้ำตาล,สีดำ ควรปรึกษาศูนย์สาธารณะสุขหรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน

  • หลังจากประเมินอาหารเสร็จ สามารถให้อาหารได้ ให้พับสายยางและปลดกระบอกออก จากนั้นนำปลายสายถุงอาหารมาต่อกับจุก แขวนถุงอาหารไว้กับเสาสูงๆและหมุนตัวล็อคขึ้นให้อาหารไหล
  • พออาหารหมด ให้หมุนตัวล็อคลงเพื่อปิด และให้พับสายไว้และปลดสายถุงอาหารออก นำกระบอกที่ไม่มีลูกสูบมาต่อกับจุกเติมน้ำลงไปประมาณ 10 -20 ซีซี ปล่อยสายที่พับไว้เพื่อให้น้ำไหลจนกระทั่งน้ำเหลือในกระบอกประมาณ 10 ซีซี ให้พับสายไว้ จากนั้นนำยาที่บดละลายน้ำไว้เทเติมลงไป (ระวังยาจะอุดตัน) ปล่อยสายที่พับไว้ พอยาไหลเกือบหมดกระบอก ให้พับสายและเติมน้ำลงไปอีกประมาณ 30 ซีซี ปล่อยสายที่พับไว้ ให้น้ำไหลจนหมดและไม่เห็นน้ำเหลือค้างในสายยาง (ตั้งแต่ปลายสายจนถึงจมูกผู้ป่วย ) จากนั้นปิดจุก
  • หลังจากให้อาหารและยาเสร็จเรียบร้อย ควรให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าศีรษะสูง 60 องศาต่อไปอีกประมาณ 1 ชั่วโมง
  • การเก็บอาหารปั้น โดยปกติจะเก็บได้ 1 วัน หรือ 24 ชั่วโมง ในช่องธรรมดา ถ้าจะนำอาหารมาให้ผู้ป่วยต้องอุ่นก่อน โดยนำถุงอาหารปั้นไปแช่น้ำร้อน

แหล่งที่มา : http://www.kluaynamthai2.com


การดูแลรักษาสายยางให้อาหาร
 

  1. เปลี่ยนพลาสเตอร์ที่ติดสายยางกับจมูกทุก 2 – 3วัน หรือเมื่อหลุด
  2. ทำความสะอาดรูจมูก และรอบจมูกด้วยไม้พันสำลี หรือผ้าชุบน้ำ
  3. ระวังสายยางเลื่อหลุด ควรทำเครื่องหมายไว้เป็นจุดสังกตด้วย
  4. ถ้าสายยางเลื่อนหลุดไม่ควรใส่เอง เพราะอาจใส่ผิดไปเข้าหลอดลม ให้มาพบแพทย์
  5. ควรนำมาพบแพทย์เพื่อเปลี่ยนสายให้อาหารเมื่อสกปรก หรือ ทุก 1 เดือน

แหล่งที่มา : https://www.saintlouis.or.th/article/show/_11-0-2022-13:16

by author1 author1

โกโก้ (Cocoa)

โกโก้ (Cocoa) ทานอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ

โกโก้ (Cocoa) คืออะไร ?

โกโก้ เป็นเมล็ดของพืชชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาผลิตช็อกโกแลต ภายในโกโก้ มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งอาจนำมาใช้รักษา หรือป้องกันโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง ทั้งนี้แม้ว่าโกโก้จะเต็มไปด้วยคุณประโยชน์สารพัด แต่ผู้บริโภคก็ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดตามมาได้อีกด้วย

โกโก้ (Cocoa) และ ช็อกโกแลต (Chocolate) มีที่มาเดียวกัน คือ มาจากเมล็ดโกโก้ เพียงแต่โกโก้ผ่านกระบวนการแปรรูป และรีดไขมันออกจนเหลือเพียง 0-25%

 

แหล่งกำเนิดของโกโก้

แหล่งกำเนิดโกโก้นั้น มาจากต้นโกโก้ (Cocoa tree) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “Theobroma cacao” ซึ่งเป็นพืชพื้นเมืองของอเมริกาใต้ มีอยู่ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ Forastero, Criollo และ Trinitario

ส่วนของต้นโกโก้ที่นำมาสกัดเป็นโกโก้ให้เรารับประทานนั้น คือ เมล็ดซึ่งอยู่ในผลโกโก้ โดยเมล็ดจะต้องถูกนำไปหมักให้มีกลิ่นหอม แล้วนำไปตากแห้งเพื่อให้ความชื้นลดลง จากนั้นจะถูกนำไปคั่ว จนได้สิ่งที่เรียกว่า “คาเคา นิบส์ (Cocoa nib)” ซึ่งเป็นเมล็ดสีน้ำตาลเข้ม มีกลิ่นหอม รสชาติขมเป็นเอกลักษณ์

 

 

ประโยชน์ของโกโก้

โกโก้ ประกอบไปด้วยแคลอรี่  ไขมัน, โปรตีน, คาร์โบไฮเดรต, ใยอาหาร และแร่ธาตุชนิดต่าง ๆ รวมไปถึงสารอีกหลายชนิด เช่น สารต้านอนุมูลอิสระฟลาโวนอยด์, สารอีพิคาเทชิน, สารคาเทชิน, สารโพรไซยานิดีน เป็นต้น สารสำคัญต่าง ๆ ในโกโก้ย่อมส่งผลดีต่อร่างกายไม่มากก็น้อย ดังนี้

  • ช่วยเสริมสร้างหัวใจให้แข็งแรง
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระ
  • ช่วยคลายเครียด
  • ช่วยทำให้ผิวสวย
  • บำรุงสมอง
  • ช่วยให้กระปรี้กระเปร่า
  • เร่งการเผาผลาญ

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ผงโกโก้ 100 กรัม ให้พลังงาน 228 กิโลแคลอรี่ ประกอบไปด้วย

  • โปรตีน : 19.60 กรัม
  • ไขมัน : 13.70 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต : 57.90 กรัม
  • ไฟเบอร์ : 37 กรัม
  • น้ำตาล : 1.75 กรัม

 

การรับประทานโกโก้ให้ได้ประโยชน์

  • กินผงโกโก้วันละ 1 ช้อนโต๊ะ จะช่วยเสริมสร้างให้หัวใจแข็งแรง โดยอาจโรยหน้าขนม หรือชงเป็นเครื่องดื่มก็ได้
  • ควรกินโกโก้ที่เป็นโกโก้แท้ 100% และไม่ควรใส่ส่วนผสมอย่างนม หรือน้ำตาล เพิ่มเข้าไป
  • หากอยากผิวสวย ให้ดื่ม หรือกินโกโก้ติดต่อกันเป็นเวลา 12 สัปดาห์

 

ข้อควรระวังในการรับประทานโกโก้

  • การกินโกโก้แบบเพิ่มนม และน้ำตาล จะทำให้ระดับน้ำตาล และไขมันในเลือดสูงขึ้น ส่งผลให้เป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • โกโก้มีสารทีโอโบรมายสูง มีฤทธิ์คล้ายคาเฟอีนอ่อนๆ ถ้ากินเข้าไปปริมาณมากอาจทำให้ใจสั่น และนอนไม่หลับได้

หากคำนึงถึงสุขภาพเป็นหลัก ควรเลือกรับประทานโกโก้ในรูปแบบดาร์กช็อกโกแลต ซึ่งมีปริมาณเนื้อโกโก้สูง และมีไขมันจากนมกับน้ำตาลต่ำ แม้รสชาติจะขมไปบ้าง แต่ก็ดีต่อสุขภาพมากกว่าช็อกโกแลตนม และไวท์ช็อกโกแลตอย่างแน่นอน

 

แหล่งที่มา : https://www.sgethai.com/article/

by author1 author1

เก๊กฮวย   

เก๊กฮวย   เครื่องดื่มสมุนไพรกับการรักษาโรค

เก๊กฮวย เครื่องดื่มดับกระหายยอดนิยมที่มีสรรพคุณทางยา ตามตำราการรักษาแพทย์แผนจีน เป็นสมุนไพรมีฤทธิ์เย็น ช่วยปรับสมดุลและขจัดสารพิษออกจาก

เก๊กฮวย เป็นพืชสมุนไพรที่มีอยู่หลายสายพันธุ์ โดยเก๊กฮวยดอกสีเหลือง เป็นชนิดที่คนนิยมนำมาบริโภคในรูปแบบของเครื่องดื่ม ชาสมุนไพร หรือนำมาประกอบอาหารมากกว่าชนิดอื่น ๆ โดยเชื่อว่าการดื่มหรือบริโภคเก๊กฮวยจะช่วยบรรเทาอาการหวัด ลดไข้ ป้องกันโรคเบาหวาน ลดความดันโลหิต หรือต้านมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นต้น

โดยข้อมูลทางการแพทย์บางส่วนที่ศึกษาประสิทธิผลต่อสุขภาพจากการบริโภคเก๊กฮวย มีดังนี้  

  • ลดความดันโลหิต
  • รักษาโรคเบาหวาน
  • ต้านมะเร็งต่อมลูกหมาก

ความปลอดภัยในการบริโภคเก๊กฮวย

แม้เก๊กฮวยเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรที่หลายคนนิยมบริโภคกันทั่วไปในชีวิตประจำวัน ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภคเก๊กฮวย รวมถึงสมุนไพรหรืออาหารเสริมใด ๆ เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ

ข้อควรระวังเกี่ยวกับการบริโภคเก๊กฮวย  ดังนี้

  • ผลิตภัณฑ์จากเก๊กฮวยในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีความเข้มข้นสูงอาจทำให้ผิวหนังบางคนไวต่อแสงแดดได้
  • หญิงตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเก๊กฮวย
  • เก๊กฮวยเป็นพืชในวงศ์เดียวกับเบญจมาศ ผู้ที่มีอาการแพ้พืชตระกูลนี้มีแนวโน้มแพ้เก๊กฮวยได้เช่นกัน
  • เก๊กฮวยอาจทำปฏิกิริยากับยาบางชนิด ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน
  • น้ำมันที่ได้จากดอกเก๊กฮวยประกอบด้วยสารไพรีทรัม (Pyrethrum) ซึ่งเหมือนสารประกอบในยาฆ่าแมลง จึงควรใช้น้ำมันชนิดนี้ด้วยความระมัดระวัง เพราะการสัมผัสโดนโดยตรงหรือใช้เป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองกับผิวหนัง ปาก ตา และจมูกได้

 

แหล่งที่มา : https://www.pobpad.com/

by author1 author1

แห้ว

แห้ว ประโยชน์และสรรพคุณของแห้ว

แห้ว (Waternut)  จัดเป็นพืชที่อยู่ในตระกูลเดียวกับต้นกก ซึ่งเป็นที่รู้จักของคนไทยเราเป็นอย่างดี โดยเฉพาะตามร้านขนมหวานต่างๆ ที่ต้องมีแห้วเป็นส่วนประกอบแทบทุกร้านเลยทีเดียว โดยชาวจีนมักเรียกแห้วนี้ว่า ตี๋เลียก, แบ๋ต้อย หรือจุยโอ่ว เป็นต้น

ลักษณะทั่วไปของแห้ว

สำหรับแห้วนั้นเป็นพืชที่ขึ้นในน้ำ โดยเรียกว่าเป็นพืชปีเดียวเช่นเดียวกันกับต้นข้าว ซึ่งมีลำต้นกลวง แข็ง เล็ก อวบ และเรียวดูคล้ายกับใบกก, ต้นหอม หรือใบหญ้าทรงกระเทียม โดยมีความสูงของลำต้นประมาณ  1 – 1.5  เมตร มีดอกเกิดอยู่บริเวณยอดของลำต้น และมีเมล็ดอยู่ภายในขนาดเล็ก ตลอดจนหัวแห้วจะมีลักษณะกลมๆ ดูคล้ายกับหัวหอมมีสีขาวนวล จนกระทั่งเมื่อผลเริ่มแก่ก็จะกลายเป็นสีน้ำตาลไหม้จนถึงดำ ซึ่งต้นแห้วนี้ในพื้นที่อากาศอบอุ่น และมีน้ำตลอดปี และมักนิยมเพาะปลูกกันในช่วงหน้าฝน

ประโยชน์และสรรพคุณของแห้ว

  • ช่วยบรรเทาและแก้อาการร้อนในและกระหายน้ำ
  • ช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรง
  • ช่วยขับเสมหะออกจากบริเวณลำคอ และบรรเทาอาการคออักเสบ
  • ช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย
  • ช่วยรักษาโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง
  • ช่วยขับน้ำนม และขับปัสสาวะ
  • ช่วยยับยั้งและฆ่าเชื้อแบคทีเรียไม่ให้ก่อเกิดโรคภายในร่างกายโดยสารที่ชื่อว่า พูชิน ที่มีอยู่ในผลแห้ว
  • ช่วยบำรุงปอดให้แข็งแรงขึ้น และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีการนำแห้วมารับประทาน

  • ให้นำเนื้อแห้วประมาณ 60 กรัม ต้มรวมกับแมงกะพรุน 60 กรัม มาดื่มจะช่วยลดความดันโลหิตสูงได้
  • ให้นำเนื้อแห้วประมาณสัก 5 หัว มาต้มรวมกับเปลือกส้มเขียวหวานแห้ง นำมาดื่มช่วยลดอาการความดันโลหิตสูง
  • ให้นำผลแห้วสดมาทุบให้พอแตก แล้วนำไปต้มน้ำดื่ม หรือหากอยากรับประทานสดก็ได้เช่นกัน จะช่วยแก้อาการร้อนใน กระหายน้ำ หรือเจ็บคอ และดีซ่าน ให้ดีขึ้นได้
  • ให้นำผลแห้วมาต้มให้เดือดพร้อมผสมกับเหล้า 2 ช้อนชา จะช่วยให้ปัญหาเลือดออกทางทวารหนักดีขึ้น
  • ให้นำเนื้อแห้วสดๆ มาถูบริเวณแผลจากโรคหูด โดยทำอย่างต่อเนื่องวันละ 3 – 4 ครั้ง ภายใน 1 อาทิตย์ จะทำให้ก้อนหูดเล็กลงได้

 

แหล่งที่มา : https://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/

 

 

by author1 author1

หัวปลี

“หัวปลี” วัตถุดิบแคลอรีต่ำ ประโยชน์สูง

หากพูดถึงพืชที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่หัวจรดท้าย สำหรับพืชไร่ ต้องยกให้ “อ้อย”    ส่วนพืชสวนคงเป็นพืชชนิดใดไปไม่ได้ สำหรับ “กล้วย” พืชที่ให้คุณประโยชน์ทุกสัดส่วน ต้นก็กินได้ เป็นทั้งอาหารคนอาหารสัตว์ ใบนำมาใช้ประโยชน์มากมาย ผลคือแหล่งรวมวิตามินที่ล้ำเลิศ มีประโยชน์ต่อร่างกายคนทุกเพศ ทุกวัย ที่สำคัญ ดอกกล้วย หรือ หัวปลี อาหารติดเทรนด์ที่ฝรั่งมังค่ายกให้เป็นตัวแทนเนื้อสัตว์ได้อย่างแนบเนียน

หัวปลี เป็นส่วนดอกของกล้วยที่นำมากินได้ทั้งดิบและสุก เช่น กินดิบเป็นผักเคียง กินกับผัดไทย หรือน้ำพริก ซึ่งจะมีรสชาติฝาด ๆ แต่ถ้าต้มสุกจะมีรสชาติหวานอร่อย ซึ่งปัจจุบันเทรนด์กินอาหารเพื่อสุขภาพกำลังมาแรง และหนึ่งในนั้น หัวปลีก็ติดโผอาหารแคลอรี่ต่ำ แต่ประโยชน์สูง ที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลก

ประโยชน์ของหัวปลี

  • หัวปลีบำรุงน้ำนม ในทางยาแพทย์แผนไทยหรือยาพื้นบ้าน ถือว่าหัวปลีเป็นอาหารบำรุงน้ำนมชั้นเลิศของสตรีที่ให้นมบุตร
  • หัวปลีช่วยบำรุงเลือด เนื่องจากในปลีกล้วยมีธาตุเหล็กอยู่จำนวนมากพอสมควร จึงมีส่วนในการบำรุงเลือด แก้ภาวะโลหิตจาง
  • หัวปลีช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ สารสกัดจากหัวปลีสามารถลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้มากถึง 88-87.63% ซึ่งมีการทดลองจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ทดลองที่มีอาการแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากผลการดื่มสุรา โดยให้นำหัวปลีมาเผาแล้วคั้นเอาแต่น้ำมากินครั้งละประมาณ 1/2 แก้ว ควรกินก่อนกินอาหารแต่ละมื้อสัก 1 ชั่วโมง หัวปลีจะเป็นยาช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร
  • หัวปลีช่วยลดน้ำตาลในเลือด โดยนำหัวปลีกล้วย 1 หัว มาย่างไฟให้เปลือกชั้นนอกไหม้เกรียม แล้วนำไปต้มกับน้ำ (ใส่น้ำพอท่วมหัวปลี) ให้เดือด แล้วกินน้ำยาหัวปลีต่างน้ำให้หมดในวันนั้น วันรุ่งขึ้นต้มใหม่ กิน 7 วัน จะช่วยบรรเทาอาการเบาหวานหรือช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้
  • หัวปลีช่วยต้านอนุมูลอิสระ เพราะในปลีกล้วย ยังมีสารสำคัญในกลุ่มฟีโนลิก เช่น แอนโทไซยานิน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ถ้ากินเป็นประจำย่อมช่วยลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรังต่าง ๆ ได้อย่างแน่นอน
  • หัวปลีมีแคลอรีต่ำ แต่มีคุณค่าทางโภชนาการไม่ธรรมดา มีแคลเซียมสูง มีโปรตีน มีธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส วิตามินซี และเบตา-แคโรทีน

 

แหล่งที่มา : http://www.mitrpholmodernfarm.com/news/