by author1 author1

ดาวอินคา ประโยชน์ดี ๆ สรรพคุณเด่น ๆ และข้อมูลงานวิจัย

ถิ่นกำเนิดดาวอินคา

ดาวอินคา เป็นพืชวงศ์ Euphorbiaceae เช่นเดียวกับ ยางพารา สบู่ดำ หรือมันสำปะหลัง ถั่วดาวอินคาในปัจจุบันก็มีการเพาะปลูกดาวอินคาในแถบทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีการนำดาวอินคามาแปรรูป เช่น น้ำมันดาวอินคาที่ได้จากการสกัด ถั่วดาวอินคาอบเกลือ หรือถั่วดาวอินคาคั่ว

 

ประโยชน์และสรรพคุณดาวอินคา

  1. มีฤทธิ์ลดคอเลสเตอรอลในเลือด
  2. สามารถต้านอนุมูลอิสระและป้องกันการออกซิเดชันของไขมัน
  3. ช่วยลดไขมันในเลือดและป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
  4. ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมมาบำรุงกระดูกได้ดีขึ้น
  5. ช่วยรักษาความแข็งแรงของเยื่อหุ้มเซลล์
  6. ลดการอักเสบของหลอดเลือด

เมล็ดดาวอินคา สามารถใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว เช่น ถั่วคั่วเกลือ ถั่วทอด หรือ นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร อาทิ ซอส ซีอิ้ว เต้าเจี้ยว รวมถึงแปรรูปเป็นแป้ง

 

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ดาวอินคา

ในปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดรูปแบบ / ขนาดการใช้หรือขนาดรับประทานดาวอินคาอย่างแน่ชัด โดยบางงานวิจัยระบุว่า เมล็ดดาวอินคารับประทานไม่ได้

เนื่องจากมีสารกลุ่มที่ยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ทริปซิน (trypsin inhibitor) แต่สามารถนำมาหีบเอาน้ำมันมาใช้รับประทานเพื่อให้ได้ประโยชน์จากน้ำมันดาวอินคา และบางงานวิจัยระบุว่าเมล็ดดาวอินคาสามารถรับประทานได้เมื่อทำให้สุกแล้ว

 

องค์ประกอบทางเคมี

ส่วนคุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดดาวอินคา (คั่วเกลือ ปริมาณ 100 กรัม)

เมล็ดดาวอินคาเป็นแหล่งของโปรตีน (ประมาณ 27%)

แหล่งที่มา : Wikipedin

  • พลังงาน 607 กิโลแคลอรี
  • โปรตีน 32.14 กรัม
  • ไขมันทั้งหมด 46.43 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 17.86 กรัม
  • น้ำตาล 3.57 กรัม
  • แคลเซียม 143 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็ก 4.59 มิลลิกรัม
  • โซเดียม 643 มิลลิกรัม

 

การศึกษาทางเภสัชวิทยา

งานวิจัยทางคลินิกที่ศึกษาถึงผลของน้ำมันดาวอินคา ว่ามีคุณสมบัติที่สามารถนำมาใช้แทนโอเมก้า-3 ที่มีอยู่ในน้้ามันปลาได้หรือไม่  โดยมีงานวิจัยที่ศึกษาผลของน้ำมันจากดาวอินคาต่อการลดระดับไขมันในเลือด ทดลองในผู้ป่วยที่มีปัญหาคลอเรสเตอรอลในเลือดสูง โดยให้รับประทานน้ำมันที่สกัดจากดาวอินคา 5 หรือ10 มิลลิลิตรเป็นระยะเวลา 4 เดือน พบว่า ทั้ง 2 กลุ่มมีผลคลอเรสเตอรอลทั้งหมดและไขมันที่ไม่จำเป็นในเลือดลดลง และเพิ่มระดับไขมันเอชดีแอล แสดงให้เห็นถึงว่ากรดไขมันโอเมก้า-3 ที่อยู่ในดาวอินคาออกฤทธิ์คล้ายคลึงกับกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่สกัดออกมาได้จากน้ำมันปลา

 

 

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

  • เนื่องจากยังไม่มีการกำหนดขนาดการใช้ดาวอินคาอย่างแน่ชัด ดังนั้นในการใช้ป้องกันหรือบำบัดรักษาโรค ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ
  • ไม่ควรใช้ติดต่อกันในปริมาณมากเป็นเวลานาน เพราะอาจส่งผลต่อระบบต่างๆในร่างกาย
  • ในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปของดาวอินคา ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานและได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา