by author1 author1

ขั้นตอนการทำ FLUIDIZED BED GRANULATOR จาก Citrus Aurantium Extract

ขั้นตอนการทำ FLUIDIZED BED GRANULATOR จาก  Citrus  Aurantium  Extract

1. Citrus Aurantium Extract  ที่นำมาแปรรูป

2.แปรรูปด้วยเครื่องเกาะกลุ่ม ( FLUIDZED BED GRULATOR ) อบผงด้วยลมร้อนในตัวถังเกาะกลุ่มด้วยสารช่วยยึดเกาะ

3.ผลิตภัณฑ์ผง Citrus Aurantium Extract เกาะกลุ่มที่ได้

by author1 author1

ขั้นตอนการระเหยเข้มข้นจากน้ำซุปปลา

ขั้นตอนการระเหยเข้มข้นจากน้ำซุปปลา


1.น้ำซุปปลาที่นำมาแปรรูป

2.แปรรูปด้วย เครื่องระเหยเข้มข้น (FALLING  FILM  EVAPORATOR) ระเหยน้ำออกจากวัตถุดิบที่มีลักษณะเป็นของเหลวเพื่อทำให้เข้มข้น

3.ผลิตภัณฑ์น้ำซุปปลาเข้มข้นที่ได้

by author1 author1

ขั้นตอนการต้มสกัด,ระเหยเข้มข้น และสเปรย์ดรายผง จากน้ำใบหม่อน

ขั้นตอนการต้มสกัด,ระเหยเข้มข้น และสเปรย์ดรายผง จากน้ำใบหม่อน

1. ใบหม่อนที่นำมาแปรรูป


2.ใบหม่อนที่นำมาแปรรูป แปรรูปให้เป็นของเหลวโดยการต้มสกัด ถังต้มกวนผสม ( HEATING MIXING TANK )ถังกวนผสมใช้กวนผสมของเหลว และให้ความร้อนด้วย HOT OIL

 

 

 

 

 

 

3.ผลิตภัณฑ์น้ำใบหม่อนที่ได้

4.แปรรูปด้วย เครื่องระเหยเข้มข้น (FALLING  FILM  EVAPORATOR) ระเหยน้ำออกจากวัตถุดิบที่มีลักษณะเป็นของเหลวเพื่อทำให้เข้มข้น

5.ผลิตภัณฑ์น้ำใบหม่อนเข้มข้นที่ได้

6.แปรรูปด้วย เครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง

7.ผลิตภัณฑ์ผงน้ำใบหม่อนที่ได้

by author1 author1

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากสารแต่งกลิ่นกระเทียม

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากสารแต่งกลิ่นกระเทียม


1.กระเทียมที่นำมาแปรรูป

2.นำเข้าเครื่อง SPRAY DRYER แปรรูปด้วย เครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง

3. ผลิตภัณฑ์ผงกระเทียม

 

by author1 author1

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากน้ำ EM

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากน้ำ EM


1.น้ำ EM ที่นำมาแปรรูป

2.นำเข้าเครื่อง SPRAY DRYER แปรรูปด้วย เครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง

3.ผลิตภัณฑ์ผงน้ำ EM ที่ได้

by author1 author1

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากสารละลายคอนกรีต

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากสารละลายคอนกรีต


1.คอนกรีตที่นำมาแปรรูป


2.นำเข้าเครื่อง SPRAY DRYER แปรรูปด้วย เครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง

3.ผลิตภัณฑ์ผงสารละลายคอนกรีต

by author1 author1

น้ำกระชาย

น้ำกระชายเสริมภูมิคุ้มกัน

กระชาย เป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่มีการใช้เป็นอาหารและยามานาน  ภูมิปัญญาพื้นบ้านใช้แก้โรคที่เกิดในปาก  เช่น  ปากเปื่อย  ปากเป็นแผล  รักษาอาการจมูกไม่ได้กลิ่น ไซนัสอักเสบ  ช่วยย่อยอาหาร  เพิ่มสมรรถภาพทางเพศชองเพศชาย  ยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง  แก้ปวดเมื่อย

มีการศึกษาพบว่า สารสกัดของกระชายสามารถแสดงฤทธิ์ในการต้านไวรัสซาร์ส ในระยะหลังการติดเชื้อและยังพบว่าสารแพนดูราทิน (pan-duratin) ของกระชายขาวมีฤทธิ์ในการต้านไวรัสทั้งในระยะก่อนและหลังการติดเชื้อ และยังมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเชื้อเอดส์ ต้านไวรัสไข้เลือดออกในกลุ่ม Flaviviridae family และยังยั้งเชื้อพิโคร์นาไวรัส (picornaviruses) ซึ่งก่อโรคมือเท้าปาก

นอกจากนี้ยัง พบว่า ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ แต่ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในสัตว์ทดลองและในคนต่อไป

ส่วนผสม

  • กระชายเหลืองสดครึ่งกิโล (หรือจะใช้สูตรผสมก็ได้ โดยใช้กระชายเหลือง 5 ส่วน กระชายดำ 1 ส่วน และกระชายแดง 1 ส่วน)
  • น้ำผึ้ง
  • น้ำมะนาว
  • น้ำเปล่าต้มสุกที่ทิ้งไว้จนเย็น

ขั้นตอนการทำน้ำกระชาย

  • นำกระชายมาล้างให้สะอาด ตัดหัวและท้ายทิ้งไป ถ้าขูดเปลือกออกบ้างก็จะดีมาก
  • นำมาหั่นเป็นท่อน ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการนำมาปั่น
  • เตรียมผ้าขาวบางรองด้วยกระชอน
  • นำกระชายที่เตรียมไว้ใส่ในโถปั่นและผสมกับน้ำเปล่าต้มสุกพอประมาณ แล้วปั่นจนละเอียด
  • เทใส่กระชอนที่เตรียมไว้ ถ้าน้ำน้อยก็ให้ผสมน้ำเปล่าลงไปอีก แล้วคั้นเอาแต่น้ำเท่านั้น

 

เมื่อจะดื่มก็เพียงแค่นำมาผสมกับน้ำมะนาว น้ำผึ้งในถ้วยแล้วคนให้เข้ากัน แล้วจึงใส่น้ำกระชายตามลงไป

เมื่อผสมจนรสชาติกลมกล่อมตามที่ต้องการแล้วก็เป็นอันเสร็จ

แต่ถ้ากลัวว่ากลิ่นกระชายจะแรงไป ก็สามารถใช้ใบบัวบกหรือใบโหระพามาปั่นรวมกันก็ได้ตามใจชอบ เพราะไม่มีส่วนผสมที่เป็นสูตรตายตัวเท่าไหร่

Tip : น้ำกระชายไม่ควรเก็บไว้นานมาก เพราะจะทำให้ความซ่าและความหอมของกระชายลดน้อยลง ทำให้เกิดตะกอนที่ก้น ถ้าจะให้ดีที่สุดก็ควรดื่มให้หมดภายใน 1 อาทิตย์ จะได้ทั้งรสชาติที่ซ่า ดื่มแล้วชื่นใจ พร้อมประโยชน์เต็ม ๆ ด้วย แต่สำหรับผู้ที่ดื่มน้ำกระชายแล้วมีอาการแปลก ๆ ร้อนวูบวาบ หรือมีอาการเหงื่อออกหรือเรอออกมาก็ไม่ต้องตกใจ เพราะเป็นอาการปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ หากดื่มไปสักพักเดี๋ยวก็ชินไปเอง

แหล่งที่มา : https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=2348

https://www.opsmoac.go.th/surin-local_wisdom-preview-422891791854

 

 

 

 

 

 

by author1 author1

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากสารแต่งกลิ่นเนื้อ

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากสารแต่งกลิ่นเนื้อ

1.สารแต่งกลิ่นที่นำมาแปรรูป

2.นำเข้าเครื่อง SPRAY DRYER แปรรูปด้วย เครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง


3.ผลิตภัณฑ์ผงสารแต่งกลิ่นเนื้อที่ได้

by author1 author1

ขั้นตอนการบดย่อย,หมักสกัด,ระเหยแอลกอฮอล์ และสเปรย์ดรายผงจากกระชายขาว

ขั้นตอนการบดย่อย,หมักสกัด,ระเหยแอลกอฮอล์ และสเปรย์ดรายผงจากกระชายขาว


1.กระชายขาวแห้งที่นำมาแปรรูป

2.ทำการบดย่อยวัตถุดิบ

3.ผลิตภัณฑ์กระชายขาวบดย่อยที่ได้

4.ทำการหมักสกัด 3 รอบ รอบละ 24 ชั่วโมง

5.ผลิตภัณฑ์น้ำกระชายสกัดที่ได้

6.แปรรูปด้วย  เครื่องระเหยแอลกอฮอล์ (Alcohol Recovery Evaporator) ใช้ระเหยแอลกอฮอล์นำกลับมาใช้ซ้ำ

7. ผลิตภัณฑ์น้ำกระชายที่ได้

8.แปรรูปต่อด้วย เครื่องระเหยสุญญากาศแบบหมุน ( ROTARY EVAPORATOR ) เป็นเครื่องที่ใช้ระเหยสารตัวอย่างที่เป็นของเหลวโดยการกลั่น เพื่อให้ได้สารที่ต้องการ ที่มีความเข้มข้นมากขึ้น

9.ผลิตภัณฑ์น้ำกระชายระเหยแอลกอฮอล์ที่ได้

10.แปรรูปด้วย เครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง

11.ผลิตภัณฑ์ผงกระชายขาวที่ได้

 

by author1 author1

EM น้ำดำ

EM (Effective Microorganisms)

คือ กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพที่ได้รับการคัดสรรเป็นอย่างดี มีประโยชน์ต่อคน พืช สัตว์ และ สิ่งแวดล้อม  ซึ่ง EM นั้นจะประกอบด้วย ดังนี้

► กลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic Bacteria) คุณสมบัติ สังเคราะห์สารอินทรีย์และสร้างความอุดมสมบูรณ์

► กลุ่มจุลินทรีย์สร้างกรดแลคติก (Lactic Acid Bacteria) คุณสมบัติ ต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรียที่เป็นโทษ

► กลุ่มจุลินทรีย์หมัก เช่น ยีสต์ (Yeast) คุณสมบัติ ช่วยในการย่อยสลาย

 ประสิทธิภาพของ EM

  • ปรับสภาพดิน น้ำ อากาศ ให้ดีขึ้น
  • สามารถเปลี่ยนสภาพความเป็นกรด-ด่าง ให้สมดุล
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการหมัก การย่อยสลาย ทำให้เกิดสารอาหารเป็นปุ๋ย
  • ลดการใช้สารพิษ สารเคมี เพื่อสิ่งแวดล้อม ที่ดีกว่า
  • สามารถป้องกันเชื้อโรค และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับพืชและสัตว์

 ลักษณะทั่วไปของ EM

EM เป็นจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มที่มีประโยชน์ หรือ เรียกว่า กลุ่มธรรมะ ดังนั้น เวลาจะใช้ต้องคำนึงถึงเสมอว่า EM เป็นสิ่งมีชีวิต EM มีลักษณะ ดังนี้

  • ต้องการที่อยู่ที่เหมาะสม ไม่ร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไป อยู่ในอุณหภูมิปกติ
  • ต้องการอาหารจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาล รำข้าว โปรตีน และสารประกอบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
  • เป็นจุลินทรีย์จากธรรมชาติ ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีและยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ ได้
  • เป็นตัวเอื้อประโยชน์แก่พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตทั้งมวล
  • EM จะทำงานในที่มืดได้ดี ดังนั้น ควรนำไปใช้งานในช่วงเย็นของวัน
  • เป็นตัวทำลายความสกปรกทั้งหลาย

EM เป็น จุลินทรีย์จากธรรมชาติ ที่คัดสรรมาเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ก่อโรค ประสิทธิภาพสูง ไม่เป็นพิษกับคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งช่วยลดการใช้สารเคมี ใช้เพื่อปรับสมดุลให้กับดิน, บำบัดน้ำเสีย, กำจัดกลิ่นจากขยะมูลฝอย เป็นต้น

 

ประโยชน์ใช้สอยของ  EM เราสามารถนำประโยชน์มาใช้ในด้านใดบ้าง ?

  • การเกษตร เช่น การเตรียมแปลงปลูก การดูแลพืช ผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ชีวภาพต้นทุนต่ำ
  • ปศุสัตว์ เช่น ผสมน้ำและอาหารให้สัตว์กิน ผสมน้ำให้สัตว์เลี้ยงกิน เช่น ให้เป็ด ไก่ สุกร สัตว์เลี้ยงแข็งแรง ไม่เกิดโรค มูลของสัตว์เลี้ยงไม่มีกลิ่นเหม็น
  • ในครัวเรือน ใช้ทำความสะอาด กำจัดกลิ่นในบริเวณต่าง ๆ เช่น ห้องครัว หรือใช้เทลงท่อป้องกันการอุดตันของท่อและรางระบายน้ำ
  • การประมง เช่น การเตรียมบ่อ ปรับสภาพน้ำ

ข้อสังเกตุ
 EM ดี จะมีสีน้ำตาล และกลิ่นหอมเปรี้ยว
 EM เสีย จะมีสีดำ และมีกลิ่นเหม็นเน่า (ควรเทลงส้วมหรือนำไปกำจัดวัชพืช)

วิธีเก็บรักษา EM

  • เก็บในที่ร่ม ที่อุณหภูมิ 20-45 °C
  • อย่าทิ้ง EMไว้กลางแดดและอย่าเก็บไว้ในตู้เย็น เก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิปกติ
  • ถ้ายังไม่เปิดใช้ เก็บไว้ได้นาน 1 ปี
  • ถ้าเปิดใช้แล้ว เก็บไว้ได้นาน 6 เดือน
  • ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องปิดฝาให้สนิท เพื่อไม่ให้เชื้อโรค หรือจุลินทรีย์ในอากาศที่เป็นโทษเข้าปะปน
  • การนำ EM ไปขยายต่อ ควรใช้ภาชนะที่สะอาด และใช้ให้หมดภายในระยะเวลาที่เหมาะสม

 

แหล่งที่มา : https://marumothai.com/article/em