by author1 author1

ใบย่านาง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้เถาเลื้อย เถากลมขนาดเล็ก มีเนื้อไม้ เลื้อยพันตามต้นไม้ หรือกิ่งไม้ เถามีสีเขียว ยาว 10-15 เมตร เถาอ่อนสีเขียว เมื่อเถาแก่จะมีสีคล้ำ แตกเป็นแนวถี่ เถาอ่อนมีขนนุ่มสีเทา มีเหง้าใต้ดิน กิ่งก้านมีรอยแผลเป็นรูปจานที่ก้านใบหลุดไป มีขนประปราย หรือเกลี้ยง ใบเดี่ยว หนา สีเขียวเข้มเป็นมัน เรียงแบบสลับ รูปไข่ ยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ฐานใบมน ผิวใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ผิวใบเรียบมัน ไม่มีหูใบ เนื้อใบคล้ายกระดาษ แต่แข็ง เหนียว มีเส้นใบกึ่งออกจากโคนใบรูปฝ่ามือ 3-5 เส้น และมีเส้นแขนงใบ 2-6 คู่  ออกเป็นพวง ตามข้อและซอกใบ ติดบนก้านยาว 3-4 มิลลิเมตร เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีส้มและแดงสด เมล็ดรูปเกือกม้า พบตามป่าเต็งรัง ป่าดิบใกล้ทะเล ตามริมน้ำในป่าละเมาะ พบมากในที่รกร้าง ไร่ สวน ออกดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน

 

สรรพคุณ

ตำรายาไทย  ใช้ ราก รสจืด รสจืดขม ใช้ในตำรับยาแก้ไข้เบญจโลกวิเชียร (ประกอบด้วยรากย่านาง รวมกับรากเท้ายายม่อม รากมะเดื่อชุมพร รากคนทา รากชิงชี่ อย่างละเท่าๆกัน)

  • แก้ไข้ (ใช้รากแห้งครั้งละ 1 กำมือ หรือประมาณ 15 กรัม ต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารเช้า กลางวัน เย็น) ใบ รสจืดขม รับประทานถอนพิษ แก้ไข้ อีสุกอีใส หัด ลิ้นกระด้างคางแข็ง เป็นยากวาดคอ
  • แก้พิษเมาเบื่อ กระทุ้งพิษไข้ แก้เมาสุรา ถอนพิษผิดสำแดง นำมาต้มกินเป็นยาแก้อีสุกอีใส ตุ่มผื่น แก้ไข้ ขับพิษต่างๆ
  • แก้ท้องผูก ก้านที่มีใบผสมกับพืชอื่นใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย

ชาวบ้านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือใช้ น้ำคั้นจากใบ มีรสขม ปรุงใส่แกงหน่อไม้แกงอ่อม หรือแกงอีสานต่างๆ เป็นเครื่องชูรสได้ดีชนิดหนึ่ง เส้นใยจากเถา เหนียวมาก ใช้ทำเชือก หรือใช้มัดตับหญ้าคาที่ใช้มุงหลังคาได้

การศึกษาพิษวิทยา

สารสกัดใบย่านางด้วยแอลกอฮอล์ร้อยละ 50 ฉีดเข้าไปใต้ผิวหนังของหนู ปริมาณ 10 กรัม ต่อน้ำหนักตัวของหนู 1 กิโลกรัม (คิดเป็นปริมาณ 6,250 เท่าของปริมาณที่คนได้รับ) ไม่แสดงความเป็นพิษ

 

 

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

  • เมื่อทำน้ำย่านางเสร็จแล้วควรดื่มทันที เพราะถ้าทิ้งไว้นานเกินไปจะเกิดกลิ่นเหม็นเปรี้ยวหรือเกิดการบูดขึ้นได้ แต่สามารถนำมาแช่ตู้เย็นได้ และควรดื่มให้หมดภายใน 3 วัน
  • ในการดื่มน้ำย่านาง ควรดื่มก่อนอาหารหรือตอนท้องว่างประมาณครึ่งแก้ว 3 ครั้งต่อวัน
  • บางคนที่รู้สึกว่าน้ำย่านาง เหม็นเขียว รับประทานยากสามารถนำน้ำย่านางไปต้มให้เดือดแล้วนำมาดื่มหรือจะผสมกับน้ำสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ก็ได้ เช่น ขิง ตะไคร้ ขมิ้น หรือจะผสมกับน้ำมะพร้าว น้ำมะนาว น้ำตาล หรือแม้แต่น้ำหวานก็ได้เช่นกัน
  • ควรดื่มปริมาณแต่พอดี หากดื่มแล้วรู้สึกแพ้ พะอืดพะอม ก็ควรลดความเข้มข้นของสมุนไพรที่ใส่ลงไปให้น้อยลง

แหล่งที่มา : http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=148

แหล่งที่มา : https://www.disthai.com/16941446