by admin admin

หลักการทำงานของเครื่องทำแห้งแบบลูกกลิ้ง

เครื่องทำแห้งแบบลูกกลิ้งมีระบบการทำงานที่ยืดหยุ่นเพราะว่าสามารถควบคุมความดันของไอน้ำ ความเร็วการหมุนของลูกกลิ้ง ช่องว่างระหว่างลูกกลิ้ง และอัตราส่วนความเร็วการหมุนของลูกกลิ้งได้อย่างอิสระ ความดันของไอน้ำจะอยู่ที่ระหว่าง 2 ถึง 7 บาร์ ความเร็วการหมุนของลูกกลิ้งจะอยู่ระหว่าง 2 ถึง 30 รอบต่อนาที ช่องว่างระหว่างลูกกลิ้งจะอยู่ระหว่าง 0.05 ถึง 0.5 มิลลิเมตร และอัตราส่วนของความเร็วการหมุนของลูกกลิ้งจะอยู่ที่ 1 ถึง 5 วัตถุที่จะป้อนสามารถนำไปเพิ่มความเข้มข้นและความร้อนก่อนได้เพื่อที่จะลดเวลาการทำให้แห้ง แต่ว่าปริมาณการป้อนจะถูกควบคุมเพื่อที่จะให้แผ่นที่ออกมามีรูปทรงที่ดี

 

ปริมาณวัตถุที่ใช้ในเครื่องทำแห้งแบบลูกกลิ้ง

     ปริมาณวัตถุที่ใช้ในเครื่องทำแห้งแบบลูกกลิ้งนั้นขึ้นอยู่กับอัตราการทำแห้งของแผ่นชีท ปริมาณของวัตถุที่อยากให้อบแห้ง ความหนาของแผ่นชีท และความเร็วในการหมุนของลูกกลิ้ง อัตราการทำแห้งขึ้นอยู่กับอุณภูมิของแผ่นชีท ความดันของไอน้ำในลูกกลิ้ง วัสดุของแผ่นชีท และความหนาของแผ่นชีท(มีส่วนน้อย) ความหนาของแผ่นชีทขึ้นอยู่กับความเร็วการหมุนของลูกกลิ้ง ความลึกของบ่อน้ำเดือดตรงระหว่างลูกกลิ้ง ความกว้างของช่องว่างระหว่างลูกกลิ้ง และการไหลของของเหลว

อย่างไรก็ตาม เมื่อมีวัสดุหลายๆชนิดที่มีหลายคุณสมบัติได้ป้อนเข้าไปในเครื่องจักรนี้  ปฏิกิริยาเทอโมเคมิคอลจากการทำแห้งจากวัสดุหลายๆชิ้นก็จะทำให้คุณสมบัติของวัตถุเปลี่ยนไป แผ่นชีทหลายๆชนิดที่มีหลายคุณสมบัติก็จะทำให้กระบวนการทำงานของเครื่องจักรนี้ยากขึ้นเช่นกัน ในอดีตที่ผ่านมา ประสิทธภาพของเครื่องทำแห้งนี้ไม่สามารถกำหนดได้จากทฤษฏีและกึ่งทฤษฎี แต่ต้องดูจากประสิทธิภาพการทำแห้งของเครื่องที่ใช้ทดลอง

 

 ปริมาณของไอน้ำที่ใช้

ปริมาณไอน้ำที่ใช้ของเครื่องทำแห้งนี้จะอยู่ที่ประมาณ 1.3 ถึง 1.5 กิโลกรัม ต่อน้ำที่ใช้1กิโลกรัม หรือปริมาณน้ำที่ระเหย 0.66ถึง0.76กิโลกรัมต่อไอน้ำ1กิโลกรัม นั่นหมายถึงอัตราการใช้ความร้อนเฉพาะ(specific heat consumption)จะอยู่ที่ 3000 ถึง 3500 kJ ต่อน้ำที่ใช้1กิโลกรัม อัตราการระเหยเฉพาะ(specific evaporation rate)จะอยู่ที่ 10 ถึง 30 กิโลกรัมของน้ำที่ระเหยต่อ ตรม.^2 /ชั่วโมงสำหรับวัตถุที่แห้งยาก และจะอยู่ที่ 40 ถึง 50 กิโลกรัมของน้ำที่ระเหยต่อ ตรม^2/ชั่วโมงสำหรับวัตถุที่แห้งง่าย ผลการศึกษาล่าสุดทำให้เข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการทำงานในเครื่องชนิดนี้มากขึ้น แต่ว่าต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะสามารถถอดแบบทั้งหมด

 

แหล่งที่มา:https://www.researchgate.net/profile/Wan_Wan_Daud/publication/265654124_9_Drum_Dryers/links/56c3d88608aee3dcd4167d3a/9-Drum-Dryers.pdf?origin=publication_detail