by author1 author1

โหระพา ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

ประโยชน์และสรรพคุณโหระพา

โหระพา เป็นพืชที่มีกลิ่นหอม นิยมนำมาประกอบอาหารหลากชนิดในประเทศไทย ซึ่งช่วยปรุงแต่งกลิ่นรสของอาหารให้น่ากินยิ่งขึ้น ช่วยดับกลิ่นคาวของอาหารหลาย ใบและยอดอ่อนใช้กินเป็นผักสด เป็นเครื่องแนมอาหารคาวหรืออาหารว่างได้เป็นอย่างดี นิยมนำมาใช้เป็นผักจิ้มหรือกินสดมากกว่ากะเพรา รวมถึงนิยมใช้กินร่วมกับอาหารที่มีรสจัดและกลิ่นแรง

ส่วนในประเทศทางตะวันตก  นิยมกินใบแห้งเป็นเครื่องเทศ และน้ำสลัดที่ใช้โหระพาเป็นส่วนผสม (pesto) เป็นน้ำสลัดที่ใช้ประจำในอาหารอิตาเลียน ส่วนที่ประเทศสหรัฐอเมริกาก็นิยมกินใบโหระพา แต่ใช้โหระพาจากอียิปต์ ฝรั่งเศส และมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีกลิ่นต่างจากโหระพาของไทย แลใช้น้ำมันโหระพาใช้แต่งกลิ่นซอสมะเขือเทศ ขนมผิง ลูกอม ผักดอง ไส้กรอก และเครื่องดื่ม

นอกจากนี้ โหระพามีประโยชน์ด้านอื่นๆ อีกเช่นใบและลำต้นของโหระพาเมื่อนำมากลั่นจะได้น้ำมันหอมระเหยซึ่งใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ใช้แต่งกลิ่นอาหารพวกลูกกวาด ซอสมะเขือเทศ ผักดอง น้ำส้ม ไส้กรอก เครื่องดื่มชนิดต่างๆ ฯลฯ ใช้แต่งกลิ่นยาสีฟันและยาที่ใช้กับปากและคอ  ทำโลชั่น ครีม แชมพู สบู่ ฯลฯและน้ำมันโหระพายังใช้ไล่แมลง หรือฆ่าแมลงบางชนิดได้ เช่น ยุงและแมลงวันได้อีกด้วย

สำหรับสรรพคุณทางยาของโหระพานั้น ตามตำรายาไทยระบุว่า

ใบ : มีกลิ่นฉุน รสร้อน แก้ลมวิงเวียน ขับลม แก้ท้องขึ้น ท้องอืด แก้ปวดท้อง ช่วยย่อยอาหาร

ทั้งต้น : แก้พิษตานซาง แก้เด็กนอนสะดุ้งผวาเพราะโทษน้ำดี

เมล็ด : แก้บิด ทำให้อุจจาระไม่เกาะลำไส้ เป็นยาระบาย ใช้พอกฝีรักษาแผลในกระเพาะอาหาร

 

ส่วนในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน   มีผลการศึกษาวิจัยระบุว่า  ใบโหระพา มีบีต้าแคโรทีนสูง  สามารถช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดและมะเร็งได้  โดยโหระพา 1 ขีด มีบีตาแคโรทีน ถึง 452.16 ไมโครกรัม

องค์ประกอบทางเคมี

ใบโหระพา มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ประมาณร้อยละ 0.1-1.5 เมื่อทำการวิเคราะห์ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างจาก headspace  และตรวจสอบด้วย gas chromatography พบว่า ในน้ำมันหอมระเหยประกอบด้วยสารเมทิลชาวิคอล (methylchavicol) เป็นสารหลัก (ร้อยละ 93) และสารกลุ่มเทอร์พีน ได้แก่ลินาโลออล (linalool) และซินีออล(1,8-cineol)

นอกจากนี้ ยังมีสารยูจีนอล (eugenol) กรดกาเฟอิก (caffeic acid) และกรดโรสมารินิก (rosmarinic acid)Ocimine, alpha-pinene, eucalyptol , geraniol,limonene, eugenol methyl ether.methyl cinnaminate, 3- hexen -1- ol, estragole

รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของโหระพา

ที่มา : Wikipedia

 

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

  • หญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่กำลังให้นมบุตรสามารถรับประทานโหระพาในปริมาณปกติ ที่พบได้จากอาหารทั่วไปได้อย่างปลอดภัย แต่การใช้ในปริมาณมากอาจก่อให้เกิดอันตรายได้
  • สำหรับสตรีมีครรภ์และเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี รวมถึงผู้สูงอายุ ควรหลีกเลี่ยงน้ำมันหอมระเหยจากโหระพาเพราะทำให้เกิดอาการแพ้ง่าย
  • ผู้ที่มีเลือดออกผิดปกติอาจเสี่ยงมีเลือดออกมากยิ่งขึ้นเมื่อรับประทานน้ำมันโหระพาหรือสารสกัดจากโหระพา เนื่องจากมีฤทธิ์ชะลอการแข็งตัวของเลือด
  • เมื่อดื่มน้ำโหระพาคั้น อาจจะมีอาการข้างเคียง คือ จะทำให้มึนงงและระคายเคืองคอเล็กน้อย
  • โหระพาอาจมีฤทธิ์ลดความดันโลหิต เพื่อความปลอดภัย ผู้มีความดันโลหิตต่ำควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ เพราะอาจส่งผลให้มีความดันลดต่ำเกินไปจนเป็นอันตรายได้
  • ผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดควรหยุดใช้โหระพาหรืออาหารเสริมโหระพาในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงให้มีเลือดออกมากในระหว่างการผ่าตัด

แหล่งที่มา : https://www.disthai.com/