by author1 author1

เลือดหมูช่วยฟื้นฟูเซลล์ปอด

เลือดหมูช่วยฟื้นฟูเซลล์ปอด

หมูสัตว์อู๊ดๆๆ ที่มนุษย์กินเป็นอาหาร ได้กลายมาเป็นพระเอกหน้าใหม่ในวงการพัฒนาวิจัยทางการแพทย์ต่อจากหนูทดลอง และ ลิงแสม ซึ่งเคยเป็นสัตว์ที่มีพันธุกรรมใกล้เคียงมนุษย์ในการพัฒนายาและวัคซีนมากที่สุด

ล่าสุด สำนักข่าวบีบีซี รายงานว่า ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา ประสบความสำเร็จในการทดลอง ฟื้นฟูปอดที่เสียหายหลังได้รับบริจาคมาจากผู้เสียชีวิต ด้วยการเชื่อมต่อปอดนั้นเข้ากับหลอดเลือดที่ลำคอของหมูเป็นๆ เพื่อให้กระแสเลือดจากตัวหมูไหลเวียนเข้ามาฟื้นฟูเซลล์ปอด

 

รายงานวิจัยนี้ ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสาร  Nature Medicine ระบุว่า ปอดของมนุษย์ที่ได้รับบริจาคมาเพื่อการผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายมี จำนวนมากที่เสียหายใช้การไม่ได้จนต้องทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย การทดลองครั้งนี้ ถือเป็นความสำเร็จที่ทำให้แพทย์ค้นพบวิธีที่ช่วยซ่อมแซมปอดให้กลับมาอยู่ในสภาพดีเช่นเดิมได้ โดยใช้เลือดจากหมูที่ยังมีชีวิตอยู่

 

รายงานวิจัยดังกล่าว ระบุว่า วิธีนี้นอกจากจะช่วยซ่อมแซม ฟื้นฟูปอดให้ดีขึ้นแล้ว ยังช่วยเพิ่มจำนวนปอดที่สามารถนำไปผ่าตัดปลูกถ่ายเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยได้มากขึ้นกว่าเดิมถึง 3 เท่า โดยใช้เวลาเพียง 24 ชั่วโมง สามารถแก้ปัญหาความขาดแคลนซึ่งมาจากการที่ปอดเป็นอวัยวะบอบบางเสียหายง่าย และเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วหลังนำออกจากร่างกายผู้บริจาคเพียงไม่กี่ชั่วโมง

การทดลองฟื้นฟูปอดครั้งนี้ ทำการฟื้นฟูปอดจากผู้บริจาคอวัยวะ 6 ราย ซึ่งแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าปอดมีความเสียหายจนไม่สามารถใช้ผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายได้ โดยนอกจากจะเชื่อมต่อปอดดังกล่าวเข้ากับระบบไหลเวียนโลหิตของหมูเป็นๆ ที่ถูกวางยาสลบอยู่แล้ว ยังมีการใช้เครื่องช่วยหายใจปั๊มอากาศเข้าสู่ปอด และให้ยากดภูมิคุ้มกันเพื่อไม่ให้ร่างกายของผู้รับบริจาคปอดต่อต้านเซลล์บางส่วนจากร่างกายหมูที่อาจเข้าไปปนเปื้อนอยู่ด้วย

ผลการทดลอง ปรากฏว่าเนื้อปอดส่วนที่ขาวซีดเหมือนกับได้ตายไปแล้ว กลับมาเป็นสีชมพูสดภายในเวลา 24 ชั่วโมง ซึ่งแสดงถึงการแลกเปลี่ยนก๊าซได้ตามปกติเกือบทั้งหมด ทั้งยังพบว่าเนื้อ เยื่อและโครงสร้างของปอดกลับมามีคุณภาพในระดับดีพอที่จะนำไปผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายได้

ที่ผ่านมา ก่อนที่จะมีการ ทดลองครั้งนี้ ในการฟื้นฟูปอดที่เสื่อมสภาพ แพทย์จะใช้อุปกรณ์ EVLP ปั๊มอากาศและของเหลวที่มีออกซิเจนสูงเข้าไปช่วยฟื้นฟูปอดที่เสียหาย แต่ก็ไม่ได้ผลดีนัก ทีมนักวิจัยจึงพยายามคิดวิธีที่จะใช้การทำงานของร่างกายคนหรือสัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่แทน เพื่อให้สารอาหารที่จำเป็นและถ่ายเอาสารที่เป็นอันตรายออกจากปอดได้ดีขึ้น

ในอนาคต ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย มีแผนจะพัฒนาเทคนิควิธีนี้ต่อไป เพื่อให้ถึงขั้นที่ผู้รับการผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายใช้ระบบไหลเวียนโลหิตของตนเองฟื้นฟูปอดที่ได้รับบริจาคมาได้ ซึ่งจะสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาทางจริยธรรมและการที่ภูมิคุ้มกันของคนไข้ต่อต้านอวัยวะใหม่ด้วย ที่สำคัญหากการรักษาสภาพปอดที่เสียหายสามารถทำ ได้ดี โอกาสที่จะลดการเสียชีวิตของผู้ป่วยจากโรคโควิด-19 ก็อาจมีมากขึ้น เนื่องจากสาเหตุการเสียชีวิตจากโควิค-19 คือ ระบบหายใจล้มเหลวจากภาวะปอดอักเสบ

ผลการทดลองดังกล่าว ได้รับการเผยแพร่ในวารสาร Nature โดยนักวิจัย ระบุว่า จุดประสานประสาทหรือไซแนปส์ (Synapse) ซึ่งเป็นรอยต่อที่เชื่อมการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาทสมองแต่ละเซลล์ ได้กลับมามีความเคลื่อนไหวอีกครั้ง แม้สมองหมูที่ใช้ทดลองจะได้ชื่อว่าเป็นสมองที่ตายไปแล้วถึง 10 ชั่วโมง ทั้งนี้ สมองหมูดังกล่าวสามารถมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อยาบางชนิดได้เหมือนกับสมองที่ยังไม่ตาย ทั้งยังมีอัตราการใช้ ออกซิเจนมากเท่ากับสมองในภาวะปกติ แต่ไม่พบสัญญาณการเคลื่อนไหวของสัญญาณไฟฟ้าตลอดทั่วทั้งสมอง ซึ่งแสดงว่า แม้สมองจะฟื้นตัวแต่สติสัมปชัญญะ การรับรู้และความคิดอ่านอาจไม่ได้เกิดขึ้น

ความรู้ที่ได้จากการทดลองดังกล่าว อาจจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาโรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์, ดีเมนเชีย หรือซีนาย ดีเมนเชีย รวมทั้งการฟื้นฟูเซลล์สมองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ประสบอุบัติเหตุจนสมองได้รับความกระทบกระเทือน หรือทารกที่สมองขาดออกซิเจนเมื่อแรกเกิดในอนาคต

 

แหล่งที่มา : https://www.thairath.co.th/lifestyle/woman/health/1896681

by author1 author1

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากน้ำสารสกัดเปปไทด์จากเลือดหมู

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากน้ำสารสกัดเปปไทด์จากเลือดหมู


1.น้ำสารสกัดเปปไทด์ที่นำมาแปรรูป


2.นำเข้าเครื่อง SPRAY DRYER แปรรูปด้วย เครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง

3.ผลิตภัณฑ์ผงสารสกัดเปปไทด์จากเลือดหมูที่ได้

 

by author1 author1

ขั้นตอนการระเหยเข้มข้นจากน้ำแตงโม

ขั้นตอนการระเหยเข้มข้นจากน้ำแตงโม

1. น้ำแตงโมที่นำมาแปรรูป  แปรรูปให้เป็นของเหลวโดยการคั่น และการแยกน้ำแยกกาก

2.แปรรูปด้วย (เครื่องระเหยเข้มข้น (FALLING  FILM  EVAPORATOR) ระเหยน้ำออกจากวัตถุดิบที่มีลักษณะเป็นของเหลวเพื่อทำให้เข้มข้น

3.ผลิตภัณฑ์น้ำแตงโมเข้มข้นที่ได้

by author1 author1

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากสารแต่งกลิ่นเปลือกไม้แอปเปิ้ลรมควัน

ขั้นตอนการแปรรูปผงจากสารแต่งกลิ่นเปลือกไม้แอปเปิ้ลรมควัน


1.เปลือกไม้ที่นำมาแปรรูป  แปรรูปให้เป็นของเหลวโดยการต้มสกัด


2.นำเข้าเครื่อง SPRAY DRYER แปรรูปด้วย เครื่องสเปรย์ดรายเออร์ (SPRAY DRYER) อบแห้งแบบพ่นฝอยจากของเหลวให้เป็นผงแห้ง

3. ผลิตภัณฑ์ผงสารแต่งกลิ่นเปลือกไม้แอปเปิ้ลรมควัน

by author1 author1

โปรไบโอติกส์ ( Probiotic )

โปรไบโอติกส์ ( Probiotic ) มีประโยชน์อย่างไรสำหรับสัตว์เลี้ยง ?

โปรไบโอติกส์ คือ แบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ของเรา  โดยมีหน้าที่หลัก คือ การรักษาสมดุลในลำไส้ ช่วยย่อยอาหารที่เราย่อยไม่ได้ เพื่อให้เราได้รับสารอาหารได้ครบถ้วน ยับยั้งแบคทีเรียที่จะก่อโรคได้ นอกจากนี้ยังทำให้เรามีร่างกายที่แข็งแรงเราสามารถรับแบคทีเรีย โปรไบโอติกส์เหล่านี้ จากอาหารที่เราทานอย่าง เช่น โยเกิร์ต กิมจิ หรือ แหนม  แต่อย่าสับสนกับ พรีไบโอติก (prebiotic)

พรีไบโอติก  คือ อาหารซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อย และไม่ถูกดูดซึมได้ในระบบทางเดินอาหาร ทั้งกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก แต่จะถูกย่อยด้วยแบคทีเรียบริเวณในลำไส้ใหญ่ โดยจะกระตุ้นการทำงานและส่งเสริมการเจริญของจุลินทรีย์โปรไบโอติก (probiotic) มีประโยชน์ต่อสุขภาพ จัดเป็นอาหารในกลุ่ม functional food

แล้วสูตรอาหารและของว่างน้อง ๆ ที่ผสมโปรไบโอติกส์ จะดีเหมือนกับที่เรารับประทานหรือไม่  ?

อยากให้ทุกคนทำความเข้าใจกันก่อนว่า แบคทีเรียในท้องของสัตว์เลี้ยงมีทั้งสายพันธุ์ที่เหมือนและต่างจากเรา  ระบบทางเดินอาหารของน้อง ๆ  ก็ต่างจากเรามากมาย  ดังนั้น การที่เราเลือกอาหารที่ผสมโปรไบโอติกส์ให้กับสัตว์เลี้ยง ต้องคำนึงถึงหลายสิ่งไม่เช่นนั้น  การทานโปรไบโอติกส์ก็จะเปล่าประโยชน์

https://www.tech-supply.co.th

 

by author1 author1

มะขามแดง

มะขามแดงสยาม

เป็นชื่อสายพันธุ์มะขามเปรี้ยวที่ให้เนื้อเป็นสีแดง แตกต่างจากมะขามเปรี้ยวที่เห็นโดยทั่วไป โดยทางสวนดวงจินดา ได้นำมาคัดเลือกสายพันธ์จากต้นแม่พันธุ์ในประเทศที่มีลักษณะเด่นในแง่ของการให้ผลดก

สำหรับความเป็นมาของมะขามเปรี้ยวเนื้อสีแดงนี้ สันนิษฐานว่า อาจเกิดจากการกลายพันธุ์ แต่ไม่ทราบที่มาจากเป็นการกลายจากเมล็ดธรรมชาติหรือการผสมเกสร เมื่อไปพบต้นพันธุ์ จึงได้นำมาทดลองปลูก และดำเนินการคัดสายพันธุ์ จนได้พันธุ์ที่มีความนิ่ง ให้ผลผลิตสูง และตั้งชื่อว่าให้ว่า มะขามแดงสยาม

 

 

ลักษณะการให้ผลผลิต ปีแรกของการออกปลูกจะเริ่มติดดอก แต่จะเริ่มเก็บผลผลิตในปีที่ 2 โดยปริมาณผลผลิตมากน้อยตามอายุและความสมบูรณ์ของต้น ปกติต้นมะขามที่มีอายุ 2 ปีขึ้นไปและมีการจัดการดูแลดี จะเก็บผลผลิตได้ประมาณ 50 – 60 กิโลกรัมต่อต้น การติดของฝักจะมีตลอดทั้งปี ฝักจะมีขนาดใหญ่ ให้เนื้อหนา ตามปกติฝักจะสุกในช่วงฤดูหนาว สามารถปลูกได้ในทุกสภาพพื้นที่ และชอบแสงแดด

  • การขยายพันธุ์

โดยการทาบกิ่ง

  • การใช้ประโยชน์

ฝักอ่อนเนื้อสีแดง ใช้ปรุงอาหารได้อร่อย อีกทั้งยังนำไปตากแห้ง บดให้เป็นผงชงรับประทานได้  ส่วนใบอ่อน ดอก  ให้รสเปรี้ยว ใส่ต้มยำ ต้มโคล้ง   ,  ฝักแก่  ใช้ทำเป็นมะขามเปียก

แหล่งที่มา : https://guikaset.blogspot.com/2016/02/blog-post_1.html

by author1 author1

ขั้นตอนการระเหยเข้มข้นจากน้ำแตงโม

ขั้นตอนการระเหยเข้มข้นจากน้ำแตงโม


1. น้ำแตงโมที่นำมาแปรรูป  แปรรูปให้เป็นของเหลวโดยการคั่น และการแยกน้ำแยกกาก


2.แปรรูปด้วย เครื่องระเหยเข้มข้น (FALLING  FILM  EVAPORATOR) ระเหยน้ำออกจากวัตถุดิบที่มีลักษณะเป็นของเหลวเพื่อทำให้เข้มข้น


3.ผลิตภัณฑ์น้ำแตงโมเข้มข้นที่ได้

by author1 author1

ซิลิกา (Silica)

ประโยชน์ของ ซิลิกา ( Silica / SiO2 ) และการนำไปใช้อุตสาหกรรมต่างๆ

1. ซิลิกา ( Silica / SiO2 ) ซิลิกาเป็นวัตถุดิบสำหรับเป็นส่วนผสมในวัสดุก่อสร้าง

2. ซิลิกาอสัณฐาน ( Amorphous Silica )

    • ใช้เป็นองค์ประกอบตัวเร่งปฏิกิริยา
    • ใช้เป็นสารเพิ่มความแข็งแรง และความหนาแน่นในผลิตภัณฑ์ยาง พลาสติก และโพลีเมอร์ เป็นต้น
    • ใช้เป็นสารเพิ่มแรงยึดติดในผลิตภัณฑ์กาว
    • ใช้เป็นสารลดแรงยึดเหนี่ยวระหว่างของแข็งที่แขวนลอยในของเหลว
    • ใช้เป็นสารเพิ่มความหนืดในผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น จารบี หมึกพิมพ์ สี ยา และเครื่องสำอาง เป็นต้น
    • ใช้เป็นสารอิมัลซิไฟเออร์ทำให้สารที่ไม่ละลายกันผสมเข้ากันได้ดี เช่น น้ำกับน้ำมัน
    • ใช้เป็นสารป้องกันการเกิดโฟม
    • ใช้เป็นสารปรับสภาพพื้นผิวให้มีคุณสมบัติชอบน้ำ
    • ใช้เป็นสารเพิ่มความเงา
    • ใช้เป็นสารดูดความชื้น
    • ใช้เป็นสารเติมแต่ง

แหล่งที่มา : https://farm.vayo.co.th/blog/silica/

by author1 author1

ขั้นตอนการทำ FLUIDIZED BED GRANULATOR จาก ผงมะขามแดง

ขั้นตอนการทำ FLUIDIZED BED GRANULATOR จาก ผงมะขามแดง

1.มะขามแดงที่นำมาแปรรูป

2.แปรรูปด้วย เครื่องทำแกรนูลแบบฟลูอิดไดซ์เบด (Fluidized Bed Granulator) อบผงด้วยลมร้อนในตัวถังเกาะกลุ่มด้วยสารช่วยยึดเกาะ

3.ผลิตภัณฑ์ผงมะขามแดงเกาะกลุ่มที่ได้

by author1 author1

ขั้นตอนการทำ FLUIDIZED BED GRANULATOR จาก ผงน้ำซุปปลา

ขั้นตอนการทำ FLUIDIZED BED GRANULATOR จาก ผงน้ำซุปปลา


1.ผงน้ำซุปปลาที่นำมาแปรรูป

2.แปรรูปด้วย เครื่องทำแกรนูลแบบฟลูอิดไดซ์เบด (Fluidized Bed Granulator) อบผงด้วยลมร้อนในตัวถังเกาะกลุ่มด้วยสารช่วยยึดเกาะ

3.ผลิตภัณฑ์ผงน้ำซุปปลาเกาะกลุ่มที่ได้